การวัดทรานซิสเตอร์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล ใช้เพื่อทำความเข้าใจการวัดทรานซิสเตอร์ NPN PNP ดีเสีย ขาด ช๊อต

การวัดทรานซิสเตอร์เพื่อเช็คว่าทรานซิสเตอร์ดีเสีย ถ้าใช้ดิจิตอลมัลติเตอร์จะใช้ย่านวัดไดโอด  ทรานซิสเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยสารชนิด P และสารชนิด N  การวัด Transistor คือการเช็คสภาพรอยต่อ PN ว่ายังปกติดีอยู่หรือไม่  ทรานซิสเตอร์มี  3 ขาคือขาเบส (  B ) ขาคอลเลคเตอร์ ( C )  และขาอีมิตเตอร์ (E )   ตัวอย่างเบอร์ทรานซิสเตอร์  มักจะขึ้นต้นเบอร์แบบนี้


2N3055  NPN  15A  600V     

2N4401  NPN  600mA 40V  

C3209  NPN 2A  50V  

C564B  NPN  100mA 65V 

D313L  NPN 3A  60V  

D1857L  NPN  2A  120V 

KSP42  NPN  50mA  300V

KSP44   NPN  300mA   400V

MJE182  NPN  3A  80V

MJE340   NPN 500mA  300V

TIP29C   NPN  1A   100V

TIP35C    NPN   25A   100V

TIP36C    PNP   25A    100V

TIP42C    PNP  25A     100V

MJ2955    PNP  15A     60V


electronic components testing


แบบไดโอดเพื่อใช้ทำความเข้าใจการวัดทรานซิสเตอร์ดีเสีย  นอกจากนี้ยังสามารถใช้หาขาของทรานซิสเตอร์ได้ด้วย  

วัดทรานซิสเตอร์  ທຣານສິດເຕີ  transistor

วัดทรานซิสเตอร์  ທຣານສິດເຕີ  transistor



   ทรานซิสเตอร์เบอร์ที่ใช้วัดเป็นตัวอย่างมีขาเรียง  B   C  E  ชนิด NPN
   ทรานซิสเตอร์เบอร์ไม่เหมือนกันอาจมีการเรียงขาที่ไม่เหมือนกัน
   


ขั้นตอนการวัดทรานซิสเตอร์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

1. ให้ถอดทรานซิสเตอร์ออกจากวงจร เพราะการวัดทรานซิสเตอร์เป็นการวัดตอนไม่มีไฟ ถ้าไม่ทำตามนี้มิเตอร์จะพังและคนวัดได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

2. หาตำเหน่งขาของ Transistor  อาจสังเกตจากแผ่น PCB หรือดูจาก Datasheet  ทรานซิสเตอร์เบอร์ไม่เหมือนกันอาจมีการเรียงขาไม่เหมือนกัน  ทรานซิสเตอร์เบอร์ที่ใช้วัดเป็นตัวอย่างมีขาเรียง  B   C   E

3.  วัดขา B กับ  E  และขา B กับขา  C   โดยใช้ย่านวัดไดโอด 

-  ชนิด NPN  สายวัดสีแดงให้ยึดขา B  ไว้  สายวัดสีดำให้แตะขา E  และย้ายไปแตะขา  C  ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN  ประมาณ  0.5 - 0.8V

-  ชนิด PNP   สายวัดสีดำให้ยึดขา B  ไว้  สายวัดสีแดงให้แตะขา E  และย้ายไปแตะขา  C  ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN  ประมาณ  0.5 - 0.8V

-   ขาด  ( เสีย )     วัดและสลับสายวัดขึ้น  OL  ทั้ง 2 ครั้ง

-   ช๊อต  ( เสีย )    วัดและสลับสายวัดขึ้น  0.000V   ทั้ง 2 ครั้ง




  

  ทรายซิสเตอร์ดี จะต้องมีแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN ที่ขา B กับ E  ประมาณ   0.5 -0.8V


  ทรายซิสเตอร์ดี จะต้องมีแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN ที่ขา B กับ C  ประมาณ   0.5 -0.8V



4.  วัดขา C กับ  E  และสลับสายวัดอีกครั้ง    โดยใช้ย่านวัดไดโอด 

ทรานซิสเตอร์ดีจะขึ้น    OL ทั้ง 2 ครั้ง




5. พิจารณาผลการวัดดังนี้

 -  ดี  จะได้ผลการวัดตามที่แสดงไว้ข้างต้นคือมีแรงดันตกคร่อมขา B-C  และ B-E  =   0.5 -0.8V

-   ขาด( เสีย )     จะขึ้น OL ตลอดจะสลับสายวัดอย่างไรก็ขึ้น OL ทุกครั้ง

-  ช๊อต ( เสีย )    จะขึ้น  0.000   ตลอดจะสลับสายวัดอย่างไรก็ขึ้น 0.000 ทุกครั้ง








อ่านต่อ  >>>>


วัดถ่าน หรือ แบตเตอรี่

วัดกระแสไฟฟ้า

วัดแรงดันไฟฟ้า  Vac

วัดแรงดันไฟฟ้า  VDC

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง

วัดฟิวส์

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์


วัด  C   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดคาปาซิเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

การอ่านค่า R SMD  โวลุ่ม TRIMMER และรหัสตัวเลข R

อ่านค่า R  4 แถบสี และ 5 แถบสี


วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น