วิธีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มและแบบดิจิตอลวัดถ่าน แบตเตอรี่ AA AAA 1.5V และ 9V

ถ่านขนาดมาตรฐาน   AA  AAA  1.5V   และ   9V
                                 ถ่าน Size   มาตรฐาน   AA  AAA  1.5V   และ   9V  


ย่านวัดของมัลติมิเตอร์ที่ใช้สำหรับวัดถ่านหรือแบตเตอรี่ 1.5V และ 9V โดยเฉพาะคือย่านวัด  BATT   1.5V  9V  (ดูรูปด้านล่างประกอบ )  จะแสดงวิธีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มและมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลวัดถ่าน  ย่านวัด  BATT  แตกต่างจากการใช้ย่านวัด VDC  อย่างไร  ?     ย่านวัด BATT  นั้นจะแตกต่างจากย่านวัด VDC  โดยย่านวัด BATT จะมีตัวต้านทานโหลดค่าไม่สูง เช่น  30 Ohm  เพื่อให้แบตเตอรี่ปล่อยกระแสผ่าน R นี้  แล้วนำแรงดันที่ตกคร่อม R นี้ใช้บอกสถานะของแบตเตอรี่ว่า ดี อ่อน หรือหมดไฟ ซึ่งเป็นการวัดถ่านแบบมีโหลดและเป็นการวัดการจ่ายกระแสของแบตเตอรี่จริงๆ   ส่วนย่านวัด VDC  นั้นมีค่าอินพุตอิมพีแดนซ์สูงมาก (20KΩ/V) ค่าความต้านทานสูงมากขนาดนี้กระแสของแบตเตอรี่ไม่ไหลจึงเปรียบเหมือนเป็นการวัดแบตเตอรี่ขณะที่ไม่มีโหลดซึ่งผลการวัดอาจแสดงแรงดันไฟว่ายังดีอยู่โดยที่จริงๆแล้วแบตเตอรี่จ่ายกระแสได้ต่ำแล้ว  อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางรุ่นไม่มีย่านวัด BATT โดยเฉพาะก็สามารถย่านวัด VDC วัดได้ระดับหนึ่งแต่ผลการวัดจะไม่ใช่การวัดสภาพของแบตเตอรี่ที่แท้จริง ( คือผลการวัดมีความคลาดเคลื่อน )   สำคัญมาก ห้ามใช้ย่านวัดกระแส  DC mA หรือ  DC A  วัดกระแสแบตเตอรี่เด็ดขาดเนื่องจากย่านวัดกระแสนั้นเป็นการวัดแบบอนุกรมมัลติมิเตอร์จะพังถ้านำไปวัดถ่าน     การวัดแรงดันของแบตเตอรี่ต้องวัดแบบขนานเท่านั้น  ย่านวัด  BATT   1.5V  และ 9V ใช้สำหรับวัดถ่านขนาดมาตรฐานคือ    AA  AAA   1.5V  และ 9V เท่านั้น  ส่วนการวัดถ่านแบบกระดุม( Coin cell )  ให้ใช้ย่านวัด VDC วัดแทน  มัลติมิเตอร์ไม่สามารถใช้วัดค่าความจุของแบตเตอรี่ได้ ( Capacity ) คือไม่สามารถใช้วัดค่า  mAH    AH  ของแบตเตอรี่  ค่าความจุของแบตเตอรี่นั้นเป็นการบอกความสามารถในการจ่ายกระแสของแบตเตอรี่ใน 1 ชั่วโมง    เช่น  2 AH  มีความหมายว่าถ้าโหลดใช้กระแส   2A จะใช้ไฟได้ 1 ชั่วโมง ถ้าโหลดใช้ไฟน้อยกว่านี้ระยะเวลาใช้งานก็จะยาวนานขึ้น




วิธีใช้มัลติมิเตอร์
   ย่านวัด  BATT    1.5V   และ   9V  ใช้วัดถ่านขนาดมาตรฐาน AA   AAA  1.5V และ   9V


วิธีใช้มัลติมิเตอร์ วัดถ่าน แบตเตอรี่
    สเกลแสดงสภาพของแบตเตอรี่   1.5V  และ  9V  


ขั้นตอนการวัดถ่าน 1.5V   9V ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
1. เสียบสายวัดสีแดงเข้ากับช่อง  +  และสายวัดสีดำเข้ากับช่อง  - COM 
2. ปรับไปที่ย่านวัด BATT ถ้าถ่าน Size  AA  AAA  1.5V  ใช้ย่านวัด 1.5V  ถ้าถ่าน 9V ใช้ย่านวัด 9V
3. ต่อสายวัดให้ถูกขั้ว โดยสายวัดสีแดงแตะขั้ว + ของแบตเตอรี่และสายวัดสีดำแตะขั้ว - ของแบตเตอรี่
4. อ่านผลการวัดดังนี้

     -  เข็มชี้บริเวณ GOOD    หมายถึงแบตเตอรี่มีสภาพดี
     -  เข็มชี้บริเวณ   ?            หมายถึงแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมสภาพ อุปกรณ์ใช้กระแสไฟน้อยเช่น  นาฬิกา        สามารถใช้ต่อได้อีกระยะ 
     -   เข็มชี้บริเวณ  BAD     หมายถึงแบตเตอรี่หมดไฟและเสื่อมสภาพแล้ว   ได้เวลาเปลี่ยนถ่าน

         
วัดถ่านแบตเตอรี่  AA  AAA  1.5V   9V




ขั้นตอนการวัดถ่าน 1.5V  9V ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลที่มีย่านวัด   BAT  T เช่น   UNI-T   รุ่น  UT33B+  จะใช้รุ่นนี้ยกเป็นตัวอย่าง  มิเตอร์รุ่นนี้จะใช้ตัวต้านทานโหลด  30 Ohm สำหรับย่านวัด 1.5V   ใช้  900 Ohm สำหรับย่านวัด 9V  และ ใช้  ุ60 Ohm สำหรับย่านวัด 12V    มัลติมิเตอร์รุ่น  UNI-T UT33B+  นี้มีย่านวัดแบตเตอรี่  1.5V   9V และ  12V

1.  เสียบสายวัดสีแดงเข้ากับช่อง VΩmAuA    และสายวัดสีดำเข้ากับช่อง   COM 
2.  ปรับไปที่ย่านวัด BATT ถ้าถ่าน Size  AA  AAA  1.5V  ใช้ย่านวัด 1.5V  ถ้าถ่าน 9V ใช้ย่านวัด 9V
3.  ต่อสายวัดให้ถูกขั้ว โดยสายวัดสีแดงแตะขั้ว + ของแบตเตอรี่  สายวัดสีดำแตะขั้ว - ของแบตเตอรี่
4.  อ่านผลการวัดที่หน้าจอดังนี้
     สำหรับวัดแบต  1.5V
     -   ค่า   ≥   1.31V               =   Good   สภาพดี
     -   ค่า   0.95V -  1.31V      =   Low     เริ่มหมด / เริ่มไฟอ่อนอุปกรณ์กินกระแสไฟน้อยยังคงทำงานได้
     -   ค่า   ≤  0.95V                =   BAD   หมดไฟแล้วต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่

     สำหรับวัดแบต  9V
    -   ค่า   ≥   7.8 V              =   Good   สภาพดี
    -   ค่า  5.7V -  7.7V         =   Low     เริ่มหมด / เริ่มไฟอ่อน 
    -   ค่า   ≤  5.6V                =   BAD   หมดไฟแล้วต้องเปลียนแบตเตอรี่

    สำหรับแบต  12V
    -   ค่า  ≥    10.5 V             =   Good   สภาพดี
    -   ค่า  7.6V -  10.4V        =   Low    เริ่มหมด / เริ่มไฟอ่อน 
    -   ค่า  ≤  7.5V                 =   BAD    หมดไฟแล้ว    ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น