การวัดไดโอดบริดจ์ของวงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

วงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นใช้ไดโอดบริดจ์ซึ่งวงจรภายในของไดโอดบริดจ์มีไดโอด 4 ตัว วงจรข้างในจะเหมือนกันหมดทุกเบอร์หรือเป็นวงจรมาตรฐาน   ขั้นตอนการวัดอันดับแรกทำความเข้าใจวงจรข้างในว่าไดโอดแบบนี้มีขาอะไรบ้าง   มีทิศทางการต่ออย่างไรให้ดูไดอะแกรมในรูปจะมีขา +  ขา -   ขาไฟ AC จุด 1 และขาไฟ AC จุด 2      อันดับที่2 เข้าใจขั้วไฟของสายวัดมิเตอร์ว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลและมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะมีขั้วไฟตอนวัดไดโอดแตกต่างกัน    ไดโอดบริดจ์เป็นอุปกรณ์หลักในวงจรภาคจ่ายไฟและเป็นไดโอดทีทนกระแสได้หลายแอมป์จึงมีขนาดใหญ่ ส่วนรูปร่างหรือแพคเกจของไดโอดมีแบบเคสสี่เหลี่ยม  แบบกลม    ตัวอย่างเบอร์    KBPC10 ทนกระแสได้ 10A   ,  KBPC15  ทนกระแสได้ 15A  ,   KBPC25  ทนกระแสได้ 25A   ,   KBPC35    ทนกระแสได้ 35A   ,  KBPC50  ทนกระแสได้ 50A  เป็นต้น  ตัวเลขตัวหลังสุดบอกค่าแรงดันที่ทนได้    โดย  01 =  100V  ,  02 = 200V ,  04 =  400V ,  06 = 600V , 08=800V ,   10 = 1000V  ,  12=1200V ,  14=1400V  , 16=1600V   เป็นต้น      ยกตัวอย่างเบอร์    KBPC3504  ทนกระแสได้  35A  แรงดัน 400V     เบอร์    KBPC3512   ทนกระแสได้  35A   แรงดัน 1200V  ,    KBPC1006  ทนกระแสได้  10A แรงดัน 600V




วัดไดโอดบริดจ์   วัดไดโอด   Test   Diode  Bridge
    สังเกตขาของไดโอดบริดจ์ขา + และลบจะอยู่แนวทะแยงมุมกัน ขา AC กับ AC จะอยู่ทะแยงมุมกัน



  
วัดไดโอดบริดจ์   Test  Check  Diode Bridge   ໄດໂອດ

   สังเกตขาของไดโอดบริดจ์ขา + และ -  จะอยู่ริม ส่วนขา AC จะอยู่ด้านใน



ขั้้นตอนการวัดไดโอดบริดจ์แบบคราวๆ อย่างรวดเร็ว
1. หาตำเหน่งขาของไดโอดบริดจ์ตามรูปด้านบนและดูวงจรมาตรฐานของไดโอดบริดจ์ตามรูปด้านล่างนี้
2. ปรับสวิต์เลือกย่านวัดไปที่ย่านวัดไดโอด  หน้าจอจะแสดงรูปสัญลักษณ์ไดโอด
3. วัดขา AC กับขา AC  ตามหลักแล้วไฟ AC กับไฟ AC  2 เส้นต้องไม่ต่อถึงกันเด็ดขาดดังนั้น วัดขา AC  กับขา AC  วัดและสลับสายวัด  ขึ้น OL   2 ครั้ง = ดี
4.  วัดขา + และ -  ตามหลักแล้วไฟ + -  ต้องไหลได้ทิศทางเดียวคือไหลจาก +  ไป -  ดังนั้นวัดขา + - ต้องวัดขึ้น  1  ครั้ง   และวัดได้  OL   1 ครั้ง = ดี

วัดไดโอด   วงจรข้างในของไดโอดบริดจ์

                                                              วงจรข้างในของไดโอดบริดจ์




Test  Bridge Rectifier  Diode
                  วัดขา AC  กับขา AC  วัดและสลับสายวัด  ขึ้น OL   2 ครั้ง =  ดี



Test   Bridge Rectifier  Diode
วัดขา + และ - ต้องมีกระแสไหลได้ทิศทางเดียว ได้แรงดันตกคร่อมไดโอด 2 ตัวรวมกัน = 0.89V



Test  Bridge   Diode   ໄດໂອດ

สลับสายวัด วัดขา + และ - ต้องมีกระแสไหลได้ทิศทางเดียว ไดโอดไม่ยอมให้กระแสไหลหน้าจอขึ้น OL



ขั้นตอนการวัดไดโอดแบบวัดไดโอดทั้ง 4 ตัว เป็นการวัดแบบละเอียด
1.  สังเกตขาและวงจรข้างในของไดโอดบริดจ์  ให้สังเกตว่าขา + ของไดโอดบริดจ์แต่จริงๆเป็นขาแคโทดของไดโอดซึ่งต้องการไฟ -
2.  วัดไดโอดตัวที่ 1 และ  2   (  D1 และ  D2  )  สายวัดสีดำจับยึดขา +  ไว้คงที่เพราะขา + ของไดโอดบริดจ์แต่จริงๆเป็นขั้วแคโทดของไดโอด   ส่วนสายวัดสีแดงวัดขา AC ที่ 1 และขา AC ที่ 2 ไดโอดดีจะต้องมีแรงดันตกคร่อม  0.4V-0.8V   หมายถึงไดโอดดี   ถ้าเสียลักษณะขาดขึ้น OL  ถ้าเสียลักษณะช๊อตขึ้น 0.000


                                           ไดอะแกรมเพื่อวัดไดโอดตัวที่ 1 และตัวที่ 2  (  D1 และ  D2  )




Test  Bridge Rectifier  Diode




 สายสีดำจับยึดขา + ไว้คงที่   ส่วนสายสีแดงวัดขา AC ทั้งสอง   มีแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V คือไดโอดดี


3.  วัดไดโอดตัวที่ 3 และ 4  (  D3 และ  D4  )  สายวัดสีแดงจับยึดขา  -  ไว้คงที่  ส่วนสายวัดสีดำวัดขา AC ที่ 1 และขา AC ที่ 2     ไดโอดดีจะต้องมีแรงดันตกคร่อม  0.4V-0.8V   หมายถึงไดโอดดี  ถ้าเสียลักษณะขาดขึ้น OL  ถ้าเสียลักษณะช๊อตขึ้น 0.000


สายวัดสีแดงจับยึดขาไดโอด -   ไว้คงที่  ส่วนสายวัดสีดำวัดขา AC ที่ 1  ไดโอดดีจะมีแรงดันตกคร่อม  0.4V - 0.8V   (ขึ้นอยู่กับเบอร์ไดโอด)



สายวัดสีแดงจับยึดขา -   ไว้คงที่  ส่วนสายวัดสีดำวัดขา AC ที่ 2   ไดโอดดีจะมีแรงดันตกคร่อม  0.4V - 0.8V    (ขึ้นอยู่กับเบอร์ไดโอด)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น