วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

วิธีวัดคาปาซิเตอร์ดีเสียด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล วัดค่า C และ แนะนำเครื่องวัดคาปาซิเตอร์แบบอื่นๆเพิ่ม

แสดงวิธีการวัดคาปาซิเตอร์มีขั้ว  คาปาซิเตอร์ไม่มีขั้วและการวัดคาปาซิเตอร์พัดลมโดยใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล  UNI-T   รุ่น UT33A+    ซึ่งมีย่านวัดคาปาซิเตอร์สามารถใช้วัด C ได้สูงสุดถึง  2000UF ซึ่ง C ที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากจะมีค่าไม่สูงมากนัก   ตัวอย่างค่าคาปาซิเตอร์พัดลมซึ่ง มัลติมิเตอร์รุ่นนี้วัดได้ครอบคลุมสำหรับงานซ่อมพัดลม    1uF    400V   ,  1.5uF    400V  , 1.8uF   400V  ,  2uF   350V  ,  2uF   400V  ,     2uF   450V  ,  2.5uF   400V   , 3uF  250V  ,3uF   400V ,  3.5uF    400V  , 4uF   450V ,  4.5uF    400V  , 5uF   400V  , 6uF   400V ,  7uF   400V  ,  8uF   400V    5uF  450V   ,   6uF 450V ,  8uF    450V เป็นต้น   สังเกตว่าพัดลมตัวเล็กจะใช้  C ค่าไม่สูงเหมือนมอเตอร์  คาปาซิเตอร์พัดลมใช้กับไฟ AC และเป็นชนิดฟิล์ม ( AC  Metallized Film Capacitor ) ดังนั้นคาปาซิเตอร์พัดลมจึงไม่มีขั้วจะต่อสายวัดสลับข้างก็ได้   วิธีหาคาปาซิเตอร์พัดลมมาแทนตัวเก่าคือให้ใช้ C  ค่า uF เท่าเดิม  กรณีหาไม่ได้จริงๆให้ใช้ค่าใกล้เคียงได้เช่นของเก่าค่า 1uF ใช้ 1.5uF แทนได้   ส่วนแรงดันไฟต้องใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าก็ได้    เช่นของเดิมทนแรงดันไฟ 400V  ใช้ 450V แทนได้  สำคัญมากห้ามใช้คาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุสูงกว่าค่าเก่ามากๆ   เช่นของเก่า 1uF ไม่ควรใช้ 6uF แทน  เพราะจะทำให้กระแสไหลในวงจรมากเกินไปเกิดความร้อนเกินกว่าที่ผู้ผลิตออกแบบไว้ตอนแรก จะส่งผลเสียต่ออายุการใช้งานอุปกรณ์ตัวอื่นๆในวงจร   ด้านล่างสุดแสดงรุ่นมัลติมิเตอร์วัดตัวเก็บประจุ



วัดคาปาซิเตอร์  ຕົວເກັບປະຈຸ  Capacitor test  កុងដង់
   การวัดค่า  C



ขั้นตอนการวัดคาปาซิเตอร์ดีเสียด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
1. ปิดสวิตช์และถอดคาปาซิเตอร์ออกนอกวงจร เพราะการวัดคาปาซิเตอร์ต้องวัดขณะไม่มีไฟ ถ้าไม่ทำตามนี้มิเตอร์จะพังและผู้วัดอาจได้รับอันตรายจากการวัด
2. ให้ดิสชาร์จหรือคายประจุก่อนทำการวัดทุกครั้ง  ถ้าไม่ทำตามมิเตอร์จะพังและผู้วัดอาจได้รับอันตรายจากการวัด
3. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่การวัด C  
4. ต่อสายวัดเข้ากับ Capacitor  จะต่อสายวัดสีอะไรเข้ากับขาไหนหรือสลับสายก็ได้
5. ดูผลการวัด    ค่าที่ได้ต้องเท่ากับค่าระบุไว้ที่ตัว C หรือใกล้เคียงที่สุดและไม่เกินค่า  ±%  คลาดเคลื่อน  ยกตัวอย่างการวัดด้านล่าง


C  ค่า  100uF  ±20%   C  ดีค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง 80uF - 120uF   ( 100-20%  และ  100+20%)
C  ค่า  5uF  ±5%         C  ดีค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง 4.75uF - 5.25uF  ( 5-5%  และ  5+5%)
C  ค่า  1500pF  ±5% ( 152 = 1500pF หรือ 1.5nF)  C  ดีค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง  1.425nF - 1.575nF 
( 1.5-5%  และ  1.5+5%)



កុងដង់  kapasitor  tụ điện
                                              วัดค่า C  100uF   ได้  101.5uF    คาปาซิเตอร์นี้ดี



electronic components testing
                                       วัดค่า C   5uF   ได้  4.94uF    คาปาซิเตอร์ดี



កុងដង់  kapasitor  tụ điện
                   วัด C ไม่มีขั้วค่า 1500pF หรือ  1.5nF  ได้  1.458nF     คาปาซิเตอร์นี้ดี



คาปาซิเตอร์เสียจะวัดแล้วขึ้นแบบนี้
1.  C    ขาด   จะไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ ตามสเปคของ C ที่ระบุไว้
2.  C    ซ๊อต   ขึ้น OL และไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ
3.  C    ค่าเสือม     ได้ค่าความจุน้อยมาก หรือ  เกินสเปค   ±%   คลาดเคลื่อน


วัดค่า C  คาปาซิเตอร์ Capacitor
    C  ขาด จะไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ ตามสเปคของ C ที่ระบุไว้



วัดค่า C  คาปาซิเตอร์ Capacitor
    C  ซ๊อต  ขึ้น OL และไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ



เครื่องวัดคาปาซิเตอร์แบบอื่นๆสำหรับงานซ่อมวงจร
เปรียบเทียบมิเตอร์วัดคาปาซิเตอร์ได้ของ  uni-t ทีมีย่านวัดคาปาซิเตอร์และเป็นเป็นมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
มิเตอร์วัดค่า c ราคาถูก เช่นรุ่น   UT33A+  และ  Multi Function Tester  TC1

UNI-T    UT33A+      วัดคาปาซิเตอร์ได้สูงสุดถึง  2 mF       หรือ       2,000   uF
UNI-T    UT136C+    วัดค่า C ได้สูงสุดถึง          40 mF      หรือ     40,000   uF
UNI-T   UT139C       วัดค่า C ได้สูงสุดถึง          99.99 mF  หรือ    99,990   uF
UNI-T   UT89XD      วัดค่า  C ได้สูงสุดถึง         100 mF     หรือ    100,000  uF
UNI-T    UT61E       วัดค่า  C ได้สูงสุดถึง          220 mF     หรือ    220,000  uF


วัด  C ค่า  10uF  ด้วยเครื่องวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ESR R L  C Meter
   วัด  C ค่า  10uF  ด้วยเครื่องวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ESR   R  L  C   Meter  





อ่านต่อ   หัวข้ออื่นๆ   >>>>>


วัดถ่าน หรือ แบตเตอรี่


วัดกระแสไฟฟ้า


วัดแรงดันไฟฟ้า  Vac


วัดแรงดันไฟฟ้า VDC


วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม


วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล


วัดไดโอด  SMD  


วัดไดโอดบริดจ์ 


วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง


วัดฟิวส์


วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล


วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม


วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD


วัดทรานซิสเตอร์รั่ว


วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์


วัด  C   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม


การอ่านค่า R SMD  โวลุ่ม TRIMMER และรหัสตัวเลข R

อ่านค่า R  4 แถบสี และ 5 แถบสี


วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)


การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์