ถ้าเข็มขึ้นแล้วค้างคือเสีย(ซ๊อต) วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยคือเสีย(ขาด)
C ขาด ( เสีย ) เข็มจะไม่ขึ้นเลย สลับสายวัดเข็มก็จะไม่ขึ้นเช่นกัน
ขั้นตอนการวัดตัวเก็บประจุ
1. ต้องวัด C นอกวงจรและให้วัดขณะไม่มีไฟ ให้ปิดสวิตช์ถอดปลั๊กเพื่อเอาไฟออกจากวงจรก่อน และถ้าเป็น C ตัวใหญ่ C แรงดันสูงต้องดิสชาร์จก่อนทำการวัดทุกครั้ง สาเหตุที่ต้องวัด C ตอนไม่มีไฟเพราะในการวัด C ต้องใช้ไฟจากมิเตอร์เพื่อชาร์จให้ C ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้มัลติมิเตอร์จะพังและผู้วัดจะได้รับอันตราย
2. ปรับสวิตช์ย่านวัดโดยมีหลักการว่า
C ค่าสูงให้ใช้ Rx ค่าต่ำ และ C ค่าต่ำให้ใช้ย่าน Rx สูง
เช่น ค่าประมาณ 10uF ตั้งค่า R x1K
ค่าประมาณ 100uF ตั้งต่า Rx100
ค่าประมาณ 4700UF ขึ้นไปตั้งค่า R x 1
3. พิจารณาผลการวัด
- C ดี วัดแล้วเข็มขึ้นและจากนั้นเข็มก็ลงสุดสเกล คาปาซิเตอร์แบบอิเล็กทรอไลต์มีกระแสรั่วเล็กน้อยถือว่าดี ส่วน C ไม่มีขั้วจะไม่มีกระแสรั่วไหลเลย
- C ขาด วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย สลับสายแล้ววัดอีกรอบเข็มก็ไม่ขึ้นไม่กระดิกเลย
- C ช๊อต วัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกล สลับสายวัดแล้ววัดอีกรอบเข็มก็ขึ้นสุดสเกลเหมือนเดิม
C ดีเข็มต้องขึ้นและลงสุดสเกล ( ยกเว้นคาปาซิเตอร์ชนิดอิเล็กทรอไลต์ตัวใหญ่ ค่าสูงๆ จะมีกระแสรั่วนิดๆอาจไม่ลงสุดสเกลถือว่าเป็น C ดี ) สลับสายวัดเข็มก็จะขึ้นลงแบบเดิม
ตัวเก็บประจุไม่มีขั้วค่าน้อยระดับ pF ให้ใช้ย่านวัด Rx10K บางครั้งถ้า C ค่าน้อยมากๆมิเตอร์อาจวัดไม่ขึ้นเลยทั้งๆที่เป็น C ดี ต้องใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลวัดจึงจะวัดและแสดงค่าน้อยๆนี้ได้
คาปาซิเตอร์ที่เป็นโครงโลหะต้องวัดการช๊อตลงโครงด้วย ตั้ง Rx10K แล้ววัด
C ดีไม่ช๊อตลงโครงเข็มต้องไม่กระดิกเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น