ลักษณะขาและสัญลักษณ์ของไดโอดเปล่งแสง ( LED )
LED แบบมาตรฐานจะมี 2 ขาคือขาแอโนด( Anode )ซึ่งเป็นขั้ว + ขาแอโนดจะมีขายาว อีกขาคือขาแคโทดซึ่งเป็นขั้ว - วิธีสังเกตขาแคโทดคือเมื่อมองเข้าไปที่ด้านในจะมีโลหะชิ้นใหญ่ที่สุด แอลอีดีเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขั้วจำเป็นต้องต่อให้ถูกขั้วกรณีต่อผิดขั้วมันจะเสียทันที
วิธีตรวจสอบ LED
สามารถวัด LED ได้ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็มหรือมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลก็ได้ ดูตัวอย่างตามรูป คุณสมบัติค่าทางไฟฟ้าในการวัดคือ Vf ( Forward Voltage) และ กระแสที่ใช้ทดสอบอ้างอิงตาม Datasheet LED ผู้ผลิตหลายราย ใช้ Test condtion : current = 20mA
วิธีตรวจสอบ LED แบบที่ 1 ใช้ย่านวัด LED ที่มิเตอร์มี
มัลติมิเตอร์บางรุ่นมีช่องเสียบวัด LED ทำให้สะดวกมากในการวัด ปรับสวิตช์ไปที่ย่านวัด LED จากนั้น เสียบขา + - ให้ถูกต้องช่อง ถ้า LED ดีจะสว่าง LED เสียจะไม่สว่าง ( เสียบตรงแถว NPN )
วิธีตรวจสอบ LED แบบที่ 2 ใช้ย่านวัด Rx10
มัลติมิเตอร์แบบเข็มบางรุ่นไม่มีช่องเสียบวัด LED ก็สามารถใช้ย่านวัด Rx10 ที่ย่านวัดนี้จะมีกระแสทดสอบ 15mA ซึ่งใกล้เคียงกับ Test Condition Current ของผู้ผลิต LED ที่ใช้ 20mA มัลติมิเตอร์แบบญุี่ปุ่นเมื่อใช้ย่านวัดโอห์มสายวัดสีดำจะมีไฟขั้ว + จึงต่อกับขาแอโนดของ LED และสายวัดสีแดงจะเป็นไฟขั้ว - จึงต่อกับขาแคโทด ( ไฟนี้มาจากแบตเตอรี่ของมัลติมิเตอร์ )
วิธีตรวจสอบ LED แบบที่ 3 ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล
ย่านวัดไดโอดของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลสามารถใช้วัด LED ได้ ถ้าดีจะมีแรงดันตกคร่อม LED เช่น 1.785V 1.584V 1.707V เป็นต้น ถ้าเสียหน้าจอจะแสดง OL หมายถึง LED ขาด มีข้อจำกัดเรื่องกระแสทดสอบเนื่องจากมัลติมิเตอร์ดิจิตอลมีกระแสทดสอบน้อยมากแค่ 1mA ไม่เพียงพอที่จะทำให้ LED สว่างเหมือนมัลติมิเตอร์แบบเข็มที่มีกระแสทดสอบถึง 15mA สำหรับขั้วไฟจากสายวัดของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลจะตรงตามสีของสายวัดเลยคือ สีแดงไฟขั้ว + ใช้ต่อขาแอโนด สีดำไฟขั้ว - ใช้ต่อขาแคโทด
แสดงแรงดันตกคร่อม LED เมื่อได้รับไบอัสตรง สายวัดสีแดงต่อกับขาแอโนด และสายวัดสีดำต่อกับขาแคโทด ( ใช้ย่านวัด Diode )
LED ต้องใช้ตัวต้านทานจำกัดกระแสเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไหลผ่านตัวมันมากเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น