วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การหาค่าความต้านทานจากแถบสีของ R 5 แถบสี และ 4 แถบสี โค้ดสีตัวต้านทานสำหรับตัวต้านทานสีฟ้าและสีเทาอ่อน

ตารางโค้ดสีตัวต้านทานและวิธีอ่านค่าตัวต้านทาน   4  แถบสี     และ   R  5 แถบสี มีวิธีการอ่านที่เกือบจะเหมือนกันเพียงแต่จำนวนของตัวตั้งไม่เท่ากัน    วิธีจําแถบสีตัวต้านทานคือต้องท่อง ลองท่องดูหลายๆรอบจะจำได้เองอัตโนมัติ   เนื่องจาก R ที่ใช้แถบสีระบุค่านี้มีใช้เป็นจำนวนมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในการเรียน การซ่อม การประกอบวงจรและการทดลองวงจรต้องเจอ R แบบนี้แน่นอน   ท่องให้ได้ตามนี้

ดำ         0
น้ำตาล   1
แดง       2
ส้ม         3
เหลือง   4
เขียว      5
น้ำเงิน    6
ม่วง        7
เทา        8
ขาว        9





                                           ตัวอย่างแถบสีที่ตัว   R



ตารางค่าแถบสีของ R  ใช้ได้ทั้ง  4  แถบสี  และ  5  แถบสี

โค้ดสีตัวต้านทาน แถบสีตัวต้านทาน  ຕົວຕ້ານທານ


การหาค่าความต้านทานจากแถบสีและการใช้ตาราง

1.  การอ่านค่าตัวต้านทาน  4  แถบสี   บางคนเรียกว่าตัวต้านทานสีน้ำตาลอ่อน ( สีเทาอ่อน)
แถบสีที่ 1  ตัวตั้ง  , แถบสีที่  2  ตัวตั้ง  ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ    , แถบสีที่ 4  ±%  คลาดเคลื่อน

ค่าความต้านทาน   4  แถบสี  ຕົວຕ້ານທານ
   การอ่านค่าตัวต้านทาน  4  แถบสี 

 ตัวอย่างการอ่านค่า R   4  แถบสี 

1.1     สีแดง  แดง    ดำ   ทอง    ให้ดูจากตารางและแทนค่าสีจะได้   แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4  เป็น  ±% คลาดเคลื่อน

    สีแดง  แดง    ดำ     ทอง  
        2     2       x1      ±5%     =   22  Ohm     ± 5%

រេស៊ីស្តង់     điện trở


1.2     สีน้ำตาล   ดำ  น้ำตาล   ทอง    ให้ดูตารางและแทนค่าสี  แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

 สีน้ำตาล   ดำ     น้ำตาล      ทอง   
       1        0       x10         ± 5%     =   100   Ohm     ±5% 

រេស៊ីស្តង់     điện trở


1.3     สีน้ำตาล   ดำ   แดง   ทอง   ให้ดูตารางและแทนค่าสี  แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่  4  เป็น  ±%  คลาดเคลื่อน

 สีน้ำตาล    ดำ    แดง        ทอง  
       1        0     x100       ± 5%       =  1000   Ohm     ± 5%    หรือ 1K Ohm  ± 5%  

រេស៊ីស្តង់      điện trở


1.4     สีน้ำเงิน   เทา   แดง   ทอง   ให้ดูตารางและแทนค่าสี  แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4  เป็น  ±%  คลาดเคลื่อน

   สีน้ำเงิน   เทา    แดง        ทอง 
    6           8       x 0.1K     ± 5%       =   6.8K  Ohm     ± 5%    

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ   រេស៊ីស្តង់  điện trở

1.5     สีน้ำตาล  ดำ   เขียว    ทอง    ให้ดูตารางและแทนค่าสี   แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

    สีน้ำตาล  ดำ    เขียว          ทอง 
    1            0       x 100K     ± 5%      =     1000K Ohm หรือ   1M  Ohm  ± 5%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ  រេស៊ីស្តង់  điện trở



2.  การอ่านค่าตัวต้านทาน  5  แถบสี   บางคนเรียกว่าตัวต้านทานสีฟ้า
แถบสีที่ 1  ตัวตั้ง  ,  แถบสีที่ 2  ตัวตั้ง ,   แถบสีที่ 3   ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4   ตัวคูณ   ,  แถบสีที่ 5  ±% คลาดเคลื่อน

ความต้านทาน  5 แถบสี   ຕົວຕ້ານທານ  Resisitor
    การอ่านค่าตัวต้านทาน  5  แถบสี 


ตัวอย่างการอ่านค่า R   5  แถบสี 

2.1     สีเหลือง  ม่วง   ดำ   ดำ  น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5  เป็น  ±%  คลาดเคลื่อน

  สีเหลือง  ม่วง    ดำ     ดำ       น้ำตาล 
    4           7       0       x1       ± 1%        =     470  Ohm  ± 1%

រេស៊ីស្តង់  điện trở



2.2     สีแดง  ดำ   ดำ   เงิน  น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5  เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

   สีแดง  ดำ   ดำ    เงิน          น้ำตาล
    2       0      0      x0.01      ± 1%       =     2   Ohm  ± 1%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ  ตัวต้านทาน



2.3     สีน้ำตาล  ดำ   ดำ   ทอง   น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

   สีน้ำตาล  ดำ    ดำ    ทอง     น้ำตาล
    1            0      0     x0.1      ± 1%       =      10   Ohm  ± 1%

រេស៊ីស្តង់  điện trở



2.4     สีส้ม   ส้ม   ดำ   ดำ   น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

    สีส้ม   ส้ม   ดำ    ดำ       น้ำตาล
    3       3      0      x1      ± 1%         =     330   Ohm  ± 1%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ   ตัวต้านทาน  រេស៊ីស្តង់


2.5     สีเขียว   น้ำเงิน   ดำ   ดำ   น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

    สีเขียว   น้ำเงิน   ดำ     ดำ     น้ำตาล
    5           6          0      x1      ± 1%        =     560    Ohm    ± 1%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ  ตัวต้านทาน  រេស៊ីស្តង់



 ฝึกอ่านค่าความต้านทาน   4 แถบสี   พร้อมตัวอย่าง  อีกจำนวนมาก ( เพิ่มเติมจากที่นี้  ที่เวปนี้ )

  ฝึกอ่านค่าตัวต้านทาน 5  แถบสี    พร้อมตัวอย่าง    อีกจำนวนมาก  ( เพิ่มเติมจากที่นี้  ที่เวปนี้ )

  หรือไปที่หน้าเวปไชต์ก่อน  แล้วหา หัวข้อ  " การอ่านค่า R "   จากเมนูลิสต์




>>>>>    อ่านต่อ   เรื่องอื่นๆ   มีดังนี้ :  

การอ่านค่า R SMD    โวลุ่ม   TRIMMER และ รหัสตัวเลขค่า  R
วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์    

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง

วัดฟิวส์

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์