วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

การวัดไดโอดขาดและไดโอดช๊อตด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

การอธิบายการวัดไดโอดต้องทราบขาของไดโอดและการตั้งค่าย่านวัดของมัลติมิเตอร์แบบเข็มว่าทำไมต้องตั้งค่าแบบนี้   ไดโอดมี 2 ขาคือขาแอโนดและขาแคโทด  ดูรูปช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น   ขาแอโนดต้องการไฟ + และขาแคโทดต้องการไฟ -    เมื่อไดโอดได้รับไฟตามเงื่อนไขที่มันต้องการมันจะยอมให้กระแสไหล่ผ่านได้ หลักการวัดไดโอดคือใช้ไฟจากมัลติมิเตอร์จ่ายไบอัสตรงและไบอัสกลับให้ไดโอดแล้วเช็คว่ามันนำกระแสได้หรือหยุดนำกระแสได้หรือไม่    ด้วยวิธีการนี้ทำให้เรารู้ว่ารอยต่อ PN เสียหายหรือไม่  วิธีการตั้งค่าย่านวัดเพื่อวัดไดโอดนั้นให้ดูขนาดของไดโอดประกอบด้วย     โดยไดโอดขนาดใหญ่และขนาดมาตรฐานให้ใช้ย่านวัด  Rx1   ไดโอดเบอร์มาตรฐานยอดนิยม เช่น    เบอร์  1N4001  1N4002   1N4003  1N4004   1N4005   1N4006  1N4007 ซึ่งเบอร์เหล่านี้ทนกระแสได้   1A    ไดโอดขนาดเล็กให้ใช้ย่านวัด Rx10 หรือ Rx100  สาเหตุที่ต้องเลือกย่านวัดให้เหมาะสมกับขนาดของไดโอดเนื่องจากย่านวัด Rx1 จ่ายไฟ 150mA  3VDC  , ย่านวัด Rx10  จ่ายไฟ 15mA  3VDC  , ย่านวัด Rx100 จ่ายไฟ 1.5mA    3VDC  ไดโอดขนาดเล็กถ้าใช้ย่านวัดที่มีไฟเยอะไปรอยต่อ PN อาจเสียหายได้   ไฟ 3VDC นี้ก็มาจากแบตเตอร์รี่ของมัลติมิเตอร์นั้นเอง    ข้อสังเกตมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะสามารถจ่ายกระแสได้มากกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลเพื่อวัดสภาพอุปกรณ์ต่างๆและนี้ก็เป็นจุดเด่นมัลติมิเตอร์แบบเข็ม  





แสดงย่านวัดไดโอดใช้    Rx1 หรือ  Rx10  การเลือกขึ้นอยู่กับขนาดของไดโอด



ไดโอด  ໄດໂອດ  Diode

   แสดงขั้วของไดโอด



ขั้วไฟจากสายวัดของมัลติมิเตอร์แบบญุี่ปุ่น
เมื่อปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่านวัดโอห์ม เช่น  Rx1   Rx10  Rx100  Rx100  สายวัดสีดำจะจ่ายไฟขั้ว +
ส่วนสายวัดสีแดงจะจ่ายไฟขั้ว  -  ที่เป็นเช่นนี้เพราะวงจรข้างในของมัลติเตอร์แบบญุี่ปุ่นที่ย่านวัดโอห์มสายวัดสีดำจะต่ออยู่กับขั้วบวกของแบตเตอร์รี่และสายวัดสีแดงจะต่ออยู่กับขั้วลบของแบตเตอร์รี่   เมื่อเข้าใจเรื่องขั้วไฟของสายวัดแล้วเราจะรู้ได้ทันที่ว่าขณะที่วัดนั้นเป็นการไบอัสตรงหรือไบอัสกลับให้ไดโอดอยู่



   ไฟจากสายวัดมัลติมิเตอร์แบบ Japan เมื่อปรับไปที่ย่านวัดโอห์ม



ขั้นตอนการวัดไดโอดด้วยด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
1. เสียบสายวัดสีแดงกับรูเสียบ  +  (P)  และสายวัดสีดำเข้ากับรูเสียบ -COM 
2. ต่อสายวัดแบบไบอัสตรงให้ไดโอดตามรูป  ไดโอดสภาพดีจะมีแรงดันตกคร่อมและถ้าดูจากสเกลความต้านทานจะมีความต้านทานหลายโอห์ม ตามรูปประมาณ  10 โอห์ม  เข็มชี้แสดงความต้านทานหลายโอห์มหมายถึงรอยต่อ PN ปกติและที่เข็มขึ้นนี้เพราะไดโอดยอมให้กระแสไหลผ่านได้
3. ต่อสายวัดแบบไบอัสกลับให้ไดโอดตามรูป    ไดโอดสภาพดีจะไม่ยอมให้กระแสไหลและเข็มจะไม่ขึ้น  (เข็มชี้ที่ขอบสุดตรงสเกล  ∞ )

สรุปการวัดไดโอด   หลายคนสรุปง่ายๆว่า   การตรวจวัดไดโอด ถ้าเข็มมิเตอร์ขึ้น 1 ครั้ง  ไม่ขึ้น 1 ครั้งแสดงว่าไดโอดสภาพดี  ดูลักษณะเข็มขึ้นและเข็มไม่ขึ้นตามรูปด้านล่าง




วัดไดโอด  ໄດໂອດ
   วัดไดโอดแบบไบอัสตรงจะยอมให้กระแสไหลผ่านได้ เข็มชี้ที่ความต้านทานหลายโอห์ม




วัดไดโอด  ໄດໂອດ
    วัดไดโอดแบบไบอัสกลับ ไดโอดจะไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านได้เข็มจึงไม่ขึ้น (หรือชี้ที่สเกล ∞)


 ลักษณะไดโอดเสีย  
 การตรวจวัดไดโอดถ้าเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นทั้ง 2 ครั้งแสดงว่าไดโอดขาด  รอยต่อ PN ขาดและเสียหายแล้ว
 การตรวจวัดไดโอดถ้าเข็มมิเตอร์ขึ้นทั้ง 2 ครั้งแสดงว่าไดโอดซ๊อต รอยต่อ PN   เสียหายแล้ว
 วิธีการวัดไดโอดแบบง่ายๆและสั้นๆคือให้วัด 2 ครั้ง วัดแล้วสลับสายวัดอีกครัง
-   เข็มไม่ขึ้นทั้ง 2 ครั้ง คือไดโอดขาด ( ความหมายเดียวกันกับเข็มชี้ที่  ∞ )
 -  เข็มขึ้น 0 โอห์มทั้ง 2 ครั้ง คือไดโอดซ๊อต



   ไดโอดขาด     วัดไม่ขึ้น    2  ครั้ง หรือเข็มชี้ที่ ∞ ตลอด (เข็มไม่ขึ้นเลย )



วัดไดโอด
   ไดโอดช๊อต   วัดขึ้นทั้ง   2 ครั้ง    ( ได้ 0 โอห์ม 2 ครั้ง )