การอ่านค่าตัวเก็บประจุ
ค่าต่างๆของตัวเก็บประจุจะพิมพ์ไว้ที่ตัว C มีค่าความจุ ค่า ± % คลาดเคลื่อน และ ค่าทนแรงดันไฟฟ้า ค่าอุณหภูมิที่ทดสอบ เป็นต้น เพื่อให้ง่ายในการเข้าใจ จะแบ่งวิธีการอ่านค่าตัวเก็บประจุเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ระบุค่าความจุและหน่วยตรงๆ
2. ระบุค่าความจุแต่ไม่ระบุหน่วย
3. ระบุค่าความจุเป็นรหัสตัวเลข
1. ระบุค่าความจุและหน่วยตรงๆ ตัวอย่าง
รูปแรก C ค่า 4uF มี % คลาดเคลื่อน +10% -5% ทนแรงดันได้ 450VAC
2. ระบุค่าความจุแต่ไม่ระบุหน่วย ใช้กับ C ไม่มีขั้วและค่าความจุไม่สูง จะระบุค่าพร้อมกับ ±% คลาดเคลื่อน
ระบุค่าน้อยกว่า 1 เช่น 0.1 0.047 0.47 0.022 มีหน่วยเป็น uF (ไมโครฟารัด)
ระบุค่า 1 ขึ้นไป เช่น 1 10 100 มีหน่วยเป็น pF (พิโกฟารัด )
อักษรที่ใช้บอกค่า ± % คลาดเคลื่อน
J หมายถึงมีความคลาดเคลื่อน ±5%
K หมายถึงมีความคลาดเคลื่อน ±10%
L หมายถึงมีความคลาดเคลื่อน ±15%
M หมายถึงมีความคลาดเคลื่อน ±20%
3300J = ค่าความจุ 3300pF ±5% C ไม่มีขั้ว
C ไม่มีขั้ว ค่าความจุ 680nF ±10% (ตัวใหญ่)
3 ระบุค่าความจุเป็นรหัสตัวเลข มักใช้กับตัวเก็บประจุค่าไม่สูงและเป็นตัวเก็บประจุชนิดไม่มีขั้ว ยกเว้นรหัส 100 หมายถึง 100pF ไม่ต้องแปลงค่า ( เข้าหลักข้อ 2 ตัวเลขที่ 3 เป็น 0 )
รหัส 222 มีวิธีหาค่าดังนี้
ตัวเลขที่ 1 และ 2 เป็นตัวตั้ง ตัวเลขที่ 3 เป็นตัวคูณ หรือจำนวนเลข 0 ค่าที่ได้มีหน่วยเป็น pF
222 = 22 x x102 = 22x100 = 2200pF แปลงเป็นหน่วย nF = 2.2nF
C ไม่มีขั้ว ค่าความจุ 2200pF
รหัส 684K มีวิธีหาค่าดังนี้
ตัวเลขที่ 1 และ 2 เป็นตัวตั้ง ตัวเลขที่ 3 เป็นตัวคูณ หรือจำนวนเลข 0 ค่าที่ได้มีหน่วยเป็น pF
684 = 68 x x104 = 68x10000 = 680000pF K = ±10%
แปลง 680000pF เป็นหน่วย n F = 680nF แปลงเป็นหน่วย uF = 0.680uF
C ไม่มีขั้ว ค่าความจุ 680nF ±10% (ตัวใหญ่)
บรรทัดแรกเป็นรหัสค่า Code ค่าพิโกฟารัด ( pF) ค่านาโนฟารัด ( nF) และ ค่าไมโครฟารัด (uF)
Code พิโกฟารัด ( pF) นาโนฟารัด ( nF) และ ไมโครฟารัด (uF) เรียงเป็นลำดับ
100 = 10pF = 0.01nF = 0.00001uF
150 = 15pF = 0.015nF = 0.000015uF
220 = 22pF = 0.022nF = 0.000022uF
330 = 33pF = 0.033nF = 0.000033uF
470 = 47pF = 0.047nF = 0.000047uF
101 = 100pF = 0.1nF = 0.0001uF
121 = 120pF = 0.12nF = 0.00012uF
131 = 130pF = 0.13nF = 0.00013uF
151 = 150pF =0.15nF = 0.00015uF
181 = 180pF = 0.18nF = 0.00018uF
221 = 220pF =0.22nF = 0.00022uF
331 = 330pF =0.33nF = 0.00033uF
471 = 470pF = 0.47nF = 0.00047uF
561 = 560pF = 0.56nF = 0.00056uF
681 = 680pF = 0.68nF = 0.00068uF
751 = 750pF = 0.75nF = 0.00075uF
821 = 820pF = 0.82nF = 0.00082uF
102 = 1000pF = 1.0nF = 0.001uF
152 = 1500pF = 1.5nF = 0.0015uF
202 = 2000pF = 2.0nF = 0.002uF
222 = 2200pF = 2.2nF = 0.0022uF
332 = 3300pF = 3.3nF = 0.0033uF
472 = 4700pF = 4.7nF = 0.0047uF
502 = 5000pF = 5.0nF = 0.005uF
562 = 5600pF = 5.6nF = 0.0056uF
682 = 6800pF = 6.8nF = 0.0068uF
103 = 10000pF = 10nF = 0.01uF
153 = 15000pF = 15nF = 0.015uF
223 = 22000pF = 22nF = 0.022uF
333 = 33000pF = 33nF = 0.033uF
473 = 47000pF = 47nF = 0.047uF
683 = 68000pF = 68nF = 0.068uF
104 = 100000pF = 100nF = 0.1uF
154 = 150000pF = 150nF = 0.15uF
204 = 200000pF = 200nF = 0.2uF
224 = 220000pF = 220nF = 0.22uF
334 = 330000pF = 330nF = 0.33uF
474 = 470000pF = 470nF = 0.47uF
684 = 680000pF = 680nF = 0.68uF
105 = 1000000pF = 1000nF = 1.0uF
155 = 1500000pF = 1500nF = 1.5uF
205 = 2000000pF = 2000nF = 2.0uF
225 = 2200000pF = 2200nF = 2.2uF
335 = 3300000pF = 3300nF = 3.3uF
หน่วยของตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุมีหน่วยเป็นฟารัด ภาษาอังกฤษคือ Farads ใช้อักษรย่อ F หน่วยจริงๆของตัวเก็บประจุคือคูลอมป์ / โวลต์ มาจากสูตร C = Q / V เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษไมเคิล ฟาราเดย์ ( Michael Faraday ) จึงให้หน่วยของตัวเก็บประจุเป็นฟารัด ตัวเก็บประจุที่ใช้งานจริงๆในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะมีค่าที่น้อยมาก เช่น พิโกฟารัด ( pico Farad ) นาโนฟารัด ( nano Farad ) และ ไมโครฟารัด ( micro Farad ) โดยมีความสัมพันธ์และสัญลักษณ์ตามด้านล่างนี้ ตัวเก็บประจุค่าความจุระดับฟารัดก็มีใช้งานจะเป็น Super Capacitor
รูป Super Capacitor ค่าความจุ 1.00F C มีขั้ว
รูป Super Capacitor ค่าความจุ 0.010F และ 0.22F C มีขั้ว
1 ฟารัด (F) = 1,000,000 ไมโครฟารัด ( μF ) = 1x106 μF
1 ฟารัด (F) = 1,000,000,000 นาโนฟารัด ( nF ) = 1x109 nF
1 ฟารัด (F) = 1,000,000,000,000 พิโกฟารัด ( pF) = 1x1012 pF
และ
1 ไมโครฟารัด( μF ) = 0.000 001 F = 1 x10−6 F
1 นาโนฟารัด ( nF ) = 0.000 000 001 F = 1 x10−9 F
1 นาโนฟารัด ( pF ) = 0.000 000 000 001 F = 1 x10−12 F
และ
1 μF = 1x10-6 = 1 x103 nF = 1 x106 pF
1 nF = 1x10-9 = 1x10−3 μF = 1 x103 pF
1 pF = 1x10-12 = 1 x10−6 μF = 1 x10-3 pF
สัญลักษณ์หน่วยของตัวเก็บประจุที่พบมีดังนี้ อาจพบได้หลายแบบขึ้นอยู่กับผู้ผลิตคาปาซิเตอร์
ไมโครฟารัด ใช้สัญลักษณ์ μF uF u MF MFD
พิโกฟารัด ใช้สัญลักษณ์ pF p P PF
นาโนฟารัด ใช้สัญลักษณ์ nF n
การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์
การแปลงหน่วยให้ใช้สูตรด้านล่างและจำเป็นต้องรู้จักคำอุปสรรคต่อไปนี้และรวมถึงมีพื้นฐานการคูณและการหารเลขฐาน 10 ยกกำลัง ( ซึ่งไม่ได้อธิบายในที่นี้สามารถค้นข้อมูลได้วิชาคณิตเรื่องเลขยกกำลัง ) คำอุปสรรคที่นิยมใช้กับคาปาซิเตอร์
มิลลิ = 10−3
ไมโคร = 10−6
นาโน = 10−9
พิโก = 10−12
ตัวอย่างที่ 1 คาปาซิเตอร์ค่า 2000nF เป็นกี่ uF ?
หน่วยเดิมคือ nF = 10−9 หน่วยใหม่คือ uF = 10−6
= 2000 x ( 10−9 /10−6 ) = 2000 x 10-3
= 2000 x 0.001 = 2uF
ตอบ 2000nF = 2uF
ตัวอย่างที่ 2 คาปาซิเตอร์ค่า 0.1uF เป็นกี่ nF ?
หน่วยเดิมคือ uF = 10−6 หน่วยใหม่คือ nF = 10−9
= 0.1 x ( 10−6 /10−9 ) = 0.1 x 103
= 0.1 x 1000 = 100nF
ตอบ 0.1uF = 100 nF
ตัวอย่างที่ 3 คาปาซิเตอร์ค่า 10000pF เป็นกี่ nF ?
หน่วยเดิมคือ pF = 10−12 หน่วยใหม่คือ nF = 10−9
= 10000 x ( 10−12 / 10−9 ) = 0.1 x 10-3
= 10000 x 0.001 = 10nF
ตอบ 10000pF = 10 nF
รูป Capacitor ค่าความจุสูงมาก 50F 2.5V C มีขั้ว
>>>>>>> อ่านต่อ
วัด C ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
วัดคาปาซิเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
การอ่านค่า R SMD โวลุ่ม TRIMMER และรหัสตัวเลข R
อ่านค่า R 4 แถบสี และ 5 แถบสี
วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม
วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล
วัดไดโอด SMD
วัดไดโอดบริดจ์
วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง
วัดฟิวส์
วัดทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
วัดทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD
วัดทรานซิสเตอร์รั่ว
วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น