การวัดค่าความต้านทาน เช็ค R ดีเสียด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

การใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอลวัดค่าความต้านทานนั้นต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟหรือวัดนอกวงจร  คุณสมบัติเด่นของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลคือใช้งานง่ายเพราะแสดงผลเป็นตัวเลขช่วยลดความคลาดเคลื่อนจากการอ่านค่า  มัลติมิเตอร์แบบเข็มต้องใช้ทักษะการอ่านค่าสเกล ต้องคูณค่าที่วัดและต้องปรับ 0 Ohm ADJ  ให้เข็มเริ่มชี้ที่เลข 0  ก่อนทำการวัด    ถ้าใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลจะไม่มีขั้นตอนเหล่านี้   และนอกจากนั้นไม่ต้องปรับย่านวัดหลายครั้งตั้งเป็น  Auto Range ครั้งเดียววัดได้ทุกค่า   มัลติมิเตอร์ดิจิตอลราคาถูกจะไม่มีฟังก์ชั่น Auto Range  ถ้าใช้มิเตอร์บ่อยแนะนำให้เพิ่มงบประมาณอีกสักนิดเลือกมิเตอร์ที่ Auto Range ได้เพราะเมื่อวัดความต้านทาน วัดแรงดันจะสะดวกอย่างมาก    หลักการวัดตัวต้านทานคือใช้ไฟจากมิเตอร์ผ่านตัว R หรือจุดวัด จากนั้นมิเตอร์จะแสดงค่าที่วัดได้บนหน้าจอ


วัดตัวต้านทาน   Resistor   test   check
    วัด R  ค่า  20  Ohm วัดได้  19.9 Ohm  เป็น  R  ดีได้ค่าตามสเปคคือไม่เกิน % คลาดเคลื่อน
F =  ±1%   ควรวัดได้อยู่ในช่วง   19.8 Ohm  -20.2 Ohm   (20 -1%  ถึง  20+1%  )



ขั้นตอนการใช้ มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทาน
1.  ตัดไฟออกจากวงจร  ปิดสวิตช์และถอดปลั๊กก่อนทำการวัด R  ถ้าไม่ทำตามนี้มิเตอร์จะพังและคนวัดอาจได้รับอันตรายจากการวัด
2. เสียบสายวัดสีแดงเข้ากับรูช่อง   VΩmAuA  และสายวัดสีดำเข้ากับรูช่อง COM
3. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดโอห์มซึ่งใช้สัญลักษณ์  Ω  เช็คให้แน่ใจว่าได้เลือกย่านวัดถูกต้องแล้ว
4. ต่อสายวัดเข้ากับ R จะต่อสายวัดข้างไหนก็ได้เนื่องจาก R ไม่มีขั้ว  กรณีวัด R ในวงจรค่าที่ได้จะไม่ตรงและคลาดเคลื่อนสูงเนื่องจากกระแสไหลไปหลายทาง วัดค่า R ในวงจรต้องลอยขาหรือถอดขา R 1 ข้างก่อน ( วัดตอนไม่มีไฟเท่านั้น )
5.  พิจารณาผลการวัด ต้องวัดค่าได้ใกล้เคียงกับค่าสเปคซึ่งระบุไว้ที่ตัว R  เช่น รหัสสี  และตัวเลขบอกค่าความต้านทาน
     -   ดี   ได้ค่าตรงและใกล้เคียงค่าตามสเปคหรือค่าที่ระบุตามป้าย
     -   ขาด (เสีย)   วัดขึ้น OL    
     -   วัดค่าได้สูงกว่าค่าตามสเปคระบุไว้มากๆ เป็น  R เสีย ค่ายึด  ทำให้ค่าต่างๆในวงจรเปลี่ยนไปด้วยตามกฏของโอห์ม   V= IR   ส่งผลให้วงจรทำงานผิดปกติหรือทำงานไม่เหมือนเดิม



วัดตัวต้านทาน  Resistor  test  ตัวต้านทาน 100 Ohm
   วัด R  ค่า 10 Ohm    ±1%    วัดได้ 10 Ohm คือ R ดี  ค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง  9.9 Ohm -  10.1 Ohm
   ( ช่วง  10-1%    10+1%   )



วัดตัวต้านทาน  ตัวต้านทาน  10K  Ohm
    วัด R  ค่า 10K Ohm   ±5%    วัดได้ 9.78K  Ohm คือ R ดี ได้ตามสเปคไม่เกิน % คลาดเคลื่อน


วัดตัวต้านทาน  ตัวต้านทาน  1M   Ohm
    วัด R  ค่า 1M   Ohm   ±5%    วัดได้  1.016M  Ohm คือ R ดี  ได้ตามสเปคไม่เกิน % คลาดเคลื่อน



ความคาดเคลื่องของมัลติมิเตอร์ Digital เทียบกับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
ความคลาดเคลื่อนของค่าที่วัด ในคู่มือมิเตอร์นิยมระบุค่า Accuracy  แปลว่า ความถูกต้อง ในวิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าแปล Accuracy ว่าความแม่นยำ  ยกตัวอย่างมิเตอร์ดิจิตอล  รุ่น  UNI-T รุ่น UT33A+
สังเกตว่าทุกย่านวัดจะมี ±%  คลาดเคลื่อนใกล้เคียงกัน ค่ามีความเป็นลิเนียร์และดีกว่ามัลติมิเตอร์แบบเข็ม

Range 200.0 Ω  มีค่า Accuracy           ±%  ( 1.0% + 2 )
Range 2000 Ω  มีค่า Accuracy            ±%  ( 0.8% + 2 )
Range 20.00 KΩ  มีค่า Accuracy         ±% ( 0.8% + 2 )
Range 200.0 KΩ  มีค่า Accuracy         ±% ( 0.8% + 2 )
Range 20.00 MΩ  มีค่า Accuracy        ±%  ( 1.2% + 3 )
Range 200.0 MΩ  มีค่า Accuracy        ±%  (5% + 10 )


Accuracy ของมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีวิธีระบุค่าแตกต่างมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล  ยกตัวอย่างมัลติมิเตอร์แบบเข็ม   รุ่น  YH-372D
ทุกย่านวัดระบุค่า Accuracy  เป็น  ± 4% + of  ARC of   Scale Length 
Range  x1
Range  x10
Range  x100
Range  x1K
Range  x10K

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น