วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิธีวัดฟิวส์หลอดแก้วและฟิวส์เซรามิคขาด เช็คสายไฟ สวิตช์ และเช็ครีเลย์ด้วยโหมดวัดความต่อเนื่องของดิจิตอลมัลติมิเตอร์

โหมดวัดความต่อเนื่องของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ใช้เช็คว่าสายไฟขาดหรือไม่ขาด ใช้วัดฟิวส์  หน้าสัมผัสของสวิตช์ และเช็ครีเลย์  รวมทั้งประยุกต์ใช้งานในลักษณะที่คล้ายกัน เช่น วัดจุดต่อ 2 จุดต้องไม่ช๊อตถึงกันจึงจะดีเมื่อวัดด้วยโหมดนี้แล้วต้องไม่มีเสียงสัญญาณดัง   วัดจุดต่อ 2 จุดต้องช๊อตถึงกันจึงจะดีเมื่อวัดด้วยโหมดนี้แล้วต้องมีเสียงสัญญาณดัง   สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะใช้ชื่อย่านวัด BUZZ หรือ   CONT'Y  หลักการทำงานของโหมดวัดนี้คือมัลติเตอร์จะจ่ายกระแสไฟระดับ mA  ให้ไหล่ผ่านตัวอุปกรณ์หรือเส้นตัวนำที่วัด ถ้าเส้นตัวนำไม่ขาดจะมีเสียงสัญญาณดังบีบๆ   กรณีเส้นทางไฟฟ้าขาดจากกันจะไม่มีเสียง  ยกตัวอย่างเช่น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น  UT33A+   ถ้าวัดได้ความต้านทานน้อยกว่า 10 โอห์มมิเตอร์จะส่งสัญญญานเสียง ( มิเตอร์รุ่นต่างๆจะมีค่านี้ไม่เหมือนกัน )   ด้วยวิธีการใช้สัญญาณเสียงยืนยันการต่อถึงกันหรือไม่ต่อถึงกันนี้ของตัวนำทำให้สามารถเช็คอุปกรณ์ดีเสียได้อย่างรวดเร็วกว่าใช้ย่านวัดตัวต้านทานปกติ  
 


   โหมดวัดความต่อเนื่องของดิจิตอลมัลติมิเตอร์




    โหมดวัดความต่อเนื่องของมัลติมิเตอร์แบบเข็มใช้ชื่อ BUZZ หรือ  CONT'Y



ตัวอย่างการใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดสายไฟ  วัดฟิวส์  เช็คสวิตช์ และเช็ครีเลย์
สำคัญมากการใช้ย่านวัดความต่อเนื่องนี้ต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟอยู่ในวงจร หรือให้ปิดสวิต์ ถอดปลั๊กก่อนทำการวัดทุกครั้งเนื่องจากในการวัดนี้ต้องใช้ไฟจากตัวมิเตอร์ถ้าไม่ทำตามมิเตอร์จะพังเสียหายทันทีและมีอันตราย (ถ้าไม่ปิดสวิตช์หรือเอาไฟออกจากวงจรก่อน)
   
1.   ให้ปิดสวิตช์ถอดปลัก  เอาไฟออกจากวงจรก่อนทำการวัด หรือให้ถอดอุปกรณ์ออกก่อนแล้วค่อยวัด
2.   ปรับสวิตช์ไปที่โหมดวัดความต่อเนื่อง
3.   ต่อสายวัด ต่อสายข้างไหนก็ได้เพราะไม่มีขั้ว ถ้ามีเสียงสัญญาณดังแสดงว่าเส้นตัวนำต่อถึงกัน(สายไฟไม่ขาด )



 เช็คสายไฟว่าขาดในหมือไม่    ถ้าสายไฟไม่ขาดจะมีเสียงสัญญาณดัง พร้อมหน้าจอแสดงค่าความต้านทานค่าต่ำๆ



electronic components testing
    เช็คฟิวส์   ถ้าฟิวส์ไม่ขาดจะมีเสียงสัญญาณดัง พร้อมหน้าจอแสดงค่าความต้านทานค่าต่ำๆ


    
ฟิวส์เซรามิคขาด
   ฟิวส์เซรามิคขาด  ถ้าฟิวส์ดีจะมีสัญญาณเสียงดังและแสดงค่า R    0 Ohm หรือค่าต่ำ  ๆ
   ฟ้าฟิวส์ขึ้นจะขึ้น OL และไม่มีเสียงสัญญาณดัง


อาการฟิวส์ขาดคือไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล  อุปกรณ์หรือวงจรไม่ทำงาน สาเหตุมีหลายอย่าง  เช่นมีกระแสไหลเกินเพราะมีอุปกรณ์บางตัวดึงกระแสมากกว่าปกติ  อุปกรณ์บางตัวในลำดับถัดไปซ๊อตจึงมีกระแสไหลเกินจำนวนมากถึงระดับที่ฟิวส์ขาด  ต้องเช็คและทำการแก้ไขก่อนใส่ฟิวส์ตัวใหม่เข้าไป  ฟิวส์ขาดดูยังไง ?  ถ้าเป็นฟิวส์หลอดแก้วสังเกตง่ายๆ เส้นฟิวส์ที่อยู่ข้างในจะขาดออกจากกัน พร้อมกับตรงหลอดแก้วจะมีคราบร่องรอยการไหม้ และถ้าเป็นฟิวส์เซรามิคขาดดูยังไง ?   ไม่สามารถดูได้ด้วยตัวเปล่าเพราะมันทีบแสงต้องใช้มัลติเตอร์วัดโอห์ม  Rx1 วัด  ถ้าฟิวส์ดีเข็มต้องขึ้น ถ้าฟิวส์ขาดเข็มจะไม่ขึ้น  หรือใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดก็ได้ ถ้าฟิวส์ดีจะต้องมีเสียงสัญญานดังถ้าไม่ดังคือฟิวส์ขาดแล้ว




สำหรับการวัดสวิตช์ให้สังเกตขาสวิตช์ก่อนทำการวัด ตามหลักกรณีสวิตช์ปกติ 
-   ขา COM กับขา NC   ปกติตัวนำด้านในจะต่อถึงกันอยู่ถ้าใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดเช็คจะต้องมีสัญญาณเสียงดัง 
-    ขา COM กับขา NO   ปกติตัวนำด้านในจะไม่ต่อถึงกัน ถ้าใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดจะต้องไม่มีสัญญาณเสียงดัง ถ้ามีสัญญาณเสียงดังหมายถึงหน้าสัมผัสติดกัน  สวิตช์เสียแล้ว



ขา COM และขา NC ของสวิตช์หน้าสัมผัสข้างในต่อถึงกันอยู่   ถ้าใช้มิเตอร์วัดจะมีสัญญาณเสียงดัง คือสวิตช์ดี เมื่อใช้มือกดลูกล้อลงสวิตช์จะเปลี่ยนสถานะเป็นตัด  สัญญาณเสียงต้องไม่ดัง



สำหรับการเช็ครีเลย์ไม่ว่าจะเป็นรีเลย์ 4  ขา  5 ขา  6 ขา  8 ขา จะมีหลักการวัดเหมือนกันคือ    
1. วัด Coil  ของรีเลย์ ใช้ย่านวัดโอห์ม   ถ้า Coil ดี (ไม่ขาด)จะมีค่าความต้านทาน
2. วัดหน้าสัมผัสของรีเลย์ ให้วัดหน้าสัมหมดทุกชุดแบ่งย่อยออกเป็น  2  กรณีคือ
2.1  หนัาสัมผัสขา COM กับขา NC  ปกติจะต่อถึงกันอยู่  ถ้าวัดจะมีสัญญาณเสียงดัง ถ้าไม่ดังคือเสีย
2.2  หนัาสัมผัสขา COM กับขา NO  ปกติจะไม่ต่อถึงกัน วัดต้องไม่มีสัญญาณเสียงดัง ถ้าวัดแล้วมีสัญญาณเสียงดังคือหน้าสัมเสียแบบหน้าสัมผัสติดกัน


ขั้นตอนการวัดหรือเช็ครีเลย์
1. ให้ถอดรีเลย์ออกมา ให้วัดขณะที่ไม่มีไฟ หรือปิดสวิตช์ถอดปลั๊กก่อนวัดทุกครั้ง
2. ให้ดูไดอะแกรมหน้าสัมผัส Contact ของรีเลย์ ที่ตัวรีเลย์
3. ใช้ย่านวัดโอห์มวัด Coil ต้องมีค่าความต้านทาน จึงจะเป็นรีเลย์ดี  
4. ใช้ย่านวัดความต่อเนื่องวัดหน้าสัมผัสของ Relay   
ตามหลักการข้างต้น  ขา COM กับขา NC ปกติต่อถึงกัน วัดแล้วต้องมีเสียงดังจึงจะเป็นหน้าสัมผัสที่ดี  
ตามรูปหน้าสัมผัสมี  4 ชุดให้วัดทุกชุดและทุกชุดต้องมีสภาพดีหมด
 ขา  1 กับขา 9 ต่อถึงกันอยู่      ขา 2 กับขา 10 ต่อถึงกันอยู่
 ขา 3 กับขา 11 ต่อถึงกันอยู่     ขา 4 กับขา 12 ต่อถึงกันอยู่
เมื่อวัดขาด้านบนของ  4  ชุดนี้ต้องมีสัญญาณเสียงดังจึงจะเป็นหนัาสัมผัสที่ดี

 ขา COM กับขา NO ปกติไม่ต่อถึงกัน  วัดแล้วต้องไม่มีเสียงดังจึงจะเป็นหน้าสัมผัสที่ดี  
 ขา  5 กับขา 9  ไม่ต่อถึงกัน        ขา  6 กับขา 10  ไม่ต่อถึงกัน 
 ขา  7 กับขา 11  ไม่ต่อถึงกัน      ขา  8 กับขา 12  ไม่ต่อถึงกัน 
เมื่อวัดขาด้านบนของ  4  ชุดนี้ต้องไม่มีสัญญาณเสียงดังจึงจะเป็นหนัาสัมผัสที่ดี

Note: ขา 9  , ขา  10  , ขา  11  และขา  12 คือขา COM  (Common)




 ไดอะแกรมหน้าสัมผัสของ Relay ที่วัดเป็นตัวอย่าง มีหน้าสัมผัส 4 ชุด ต้องวัดทุกชุด  โดยมีขา 13 และ 14 เป็นขา Coil 


     
วัด coil ของรีเลย์ต้องมีค่าความต้านทาน  ถ้าไม่มีความต้านทานคือ Coil ขาด / รีเลย์เสีย       Relay ตามตัวอย่างนี้ ขา 13 และ 14 เป็นขา Coil 




อ่านต่อ >>>>


วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง


วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์