มัลติมิเตอร์ดิจิตอลที่ใช้งานในตลาดมีแบบราคาถูกซึ่งไม่มีฟังก์ชั่นปรับย่านวัดอัตโนมัติและแบบราคาหลายร้อยจะมีฟังก์ชั่นปรับย่านวัดอัตโนมัติ ( Auto Range ) แนะนำให้ใช้แบบมี Auto Range เนื่องจากใช้งานง่ายที่สุดไม่ต้องปรับย่านวัดหลายรอบ การวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง VDC ต้องต่อสายวัดให้ถูกขั้วเนื่องจากไฟฟ้ากระแสตรงมีขั้ว + - ข้อดีของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลคือกรณีต่อสายวัดผิดขั้วมันจะแจ้งเตือนให้ทราบว่ากำลังต่อผิดขั้วอยู่และกรณีปรับย่านวัดต่ำไปไม่เหมาะกับค่าที่กำลังวัดอยู่มันก็จะแจ้งเตือนเป็น Over Range ต้องปรับย่านวัดให้สูงขึ้น ให้อ่านข้อมูลต่อไปนี้ให้ครบจะได้ทำการวัดได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลัก
มัลติมิเตอร์ดิจิตอลราคาหลายร้อยมีฟังก์ชั่น Auto Range ไม่ต้องปรับย่านวัดบ่อย
มัลติมิเตอร์ดิจิตอลราคาถูก ไม่มีฟังก์ชั่น Auto Range ต้องปรับย่านวัดบ่อย
ทำความเข้าใจก่อนวัดแรงดันไฟ VDC
การวัดแรงดันไฟ VDC ต้องต่อแบบขนานแล้วต่อแบบขนานเป็นอย่างไร ? และไฟ VDC มีขั้ว + - ต้องต่อให้ถูกขั้ว การวัดแบบขนานคือการต่อคร่อมจุดที่จะวัด ดูรูปประกอบ จุดที่ต้องการจะวัดคือจุด A และ B ให้ดูขั้ว + - ก่อนวัด ให้นำสายวัดสีแดงแตะที่จุด A มีขั้ว + และนำสายวัดสีดำแตะที่จุด B ขั้ว - จะสังเกตว่าสายวัดจะคร่อมจุดที่ต้องการวัด
รูปใช้ทำความเข้าใจการวัดแรงดันไฟ VDC ต่อแบบขนาน( ต่อคร่อม )
ขั้นตอนการวัดแรงดันไฟ VDC ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
1. เสียบสายวัดสีแดงเข้ากับช่อง VΩmA และสายวัดสีดำเข้ากับช่อง COM
2. ปรับย่านวัดไปที่ย่านวัด VDC
3. ปรับย่านวัดให้สูงกว่าค่าที่จะวัด เช่น จะวัดไฟ 9VDC ให้ปรับไปที่ย่านวัด 20V กรณีจะวัดไฟ 24VDC ให้ปรับไปที่ย่านวัด 200V เป็นต้น ถ้าเป็นมิเตอร์ที่มีฟังก์ชั่น Auto Range ปรับไปที่ย่านวัด VDC ครั้งเดียว
4. กรณีไม่ทราบค่าแรงดันแรงไฟฟ้าจุดที่จะวัด ให้ปรับไปที่ย่านวัดสูงสุดที่มิเตอร์มี คือ 600VDC ( บางรุ่น 1000VDC ) แล้วค่อยปรับย่านวัดต่ำลงมาใกล้ค่าที่กำลังวัดอยู่ ( ต้องสูงกว่าค่าที่กำลังวัดด้วย )
เสียบสายวัดให้ถูกช่องกับโหมดฟังก์ชั่นที่จะวัด วัดแรงดันไฟ VDC เสียบสายวัดสีแดงเข้าช่อง VΩmA และสายวัดสีดำเข้ากับช่อง COM
ก่อนวัดเช็คให้แน่ใจว่าได้ปรับย่านวัดถูกต้องแล้ว เพราะถ้าปรับย่านวัดผิดมิเตอร์จะพัง ตามรูปนี้วัดแรงดันไฟ VDC ปรับไปที่ VDC คือถูกต้องแล้ว
ต่อสายวัดให้ถูกขั้ว สายวัดสีแดงต่อกับขั้ว + และ สายวัดสีดำเข้ากับขั้ว -
ต่อสายวัดให้ถูกขั้ว สายวัดสีแดงต่อกับขั้ว + และ สายวัดสีดำเข้ากับขั้ว -
5. ห้ามใช้มิเตอร์วัดแรงดันไฟสูงเกินลิมิตสเปคของมัลติมิเตอร์ ลิมิตสเปคจะพิมพ์ไว้ที่ตัวมิเตอร์เช่น 600VDC Max
6. กรณีต่อสายวัดผิดขั้ว มิเตอร์จะแจ้งให้ทราบว่ากำลังต่อผิดขั้วอยู่ ให้สลับสายวัดให้ถูกต้อง
7. กรณีใช้ย่านวัดค่าต่ำไป มิเตอร์จะแจ้งว่า Over Ragne ให้ปรับย่านวัดให้สูงขึ้น
8. ให้หาข้อมูลก่อนวัดว่าจุดที่จะวัดมีไฟกี่โวลต์ ? จะได้เลือกย่านวัดได้เหมาะสม อาจดูแรงดันไฟจากป้าย คำนวณตามกฏของโอห์ม V = IR หรือ หรือการทำงานของวงจร
9. การวัดแรงดันไฟฟ้าต้องต่อแบบขนานเท่านั้น และ เช็คให้แน่ใจว่าได้ตั้งย่านวัด VDC ถูกต้องแล้วก่อนวัด เนื่องจากถ้าตั้งย่านวัดผิด มิเตอร์จะพังและอาจมีอันตรายจากการวัดนั้นๆ
10. อย่าปรับโหมดฟังก์ชั่นการวัดขณะทำการวัดแรงดัน เช่น กำลังต่อสายวัดแรงดันไฟ VDC อยู่ ห้ามปรับไปที่ย่านวัดตัวต้านทาน หรือย่านวัดอื่นๆเด็ดขาด ( มิเตอร์จะพัง) กรณีต้องการเปลี่ยนโหมดฟังก์ชั่นการวัดต้องถอดสายวัดออกจากจุดวัดก่อนทุกครั้ง
11. การวัดแรงดันไฟฟ้าต้องใช้ความระมัดระวังโดยเฉพาะแรงดันไฟ 30VAC rms และ 60VDC ขึ้นไป เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าขนาดนี้มีอันตราย
12. การวัดแรงดันไฟฟที่ปลอดภัยคือ ให้แตะสายวัดสีดำก่อนจากนั้นค่อยแตะสายมีไฟ(สีแดง)ตามมา และลำดับการถอดสายวัดคือให้เอาสายสีแดงออกก่อน(มีไฟ) และตามด้วยถอดสายวัดสีดำ ขณะทำการวัดอย่าจับปลายสายวัดตรงที่เป็นโหละเด็ดขาดให้ตรงบริเวณที่เป็นฉนวนและมีแนวกั้นมือ
สาธิตการต่อสายวัดผิดขั้ว มิเตอร์จะแสดงขั้ว - ที่หน้อจอ ให้สลับสายวัดให้ถูกต้อง
สาธิตการใช้ย่านวัดต่ำไปมิเตอร์จะแสดง Over Range (1) เช่น วัดไฟ 9VDC แต่ตั้งย่านวัดต่ำไป 2V ให้ปรับย่านวัดให้สูงขึ้น ( 20V กรณีจะวัดไฟ 9VDC )
ขณะทำการวัดอย่าจับปลายสายวัดตรงที่เป็นโลหะเด็ดขาด ให้จับบริเวณที่เป็นฉนวนและมีแนวกั้นมือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น