รู้จักขั้วไฟสายวัดมัลติมิเตอร์และแรงดันตกคร่อมไดโอด SMD
หลักการวัดไดโอดคือใช้ไฟจากสายวัดมิเตอร์จ่ายให้ไดโอดแล้วดูว่ารอยต่อ PN เสียหายหรือไม่ ถ้ารอยต่อ PN ดีเมื่อไบอัสตรงจะมีแรงดันตกคร่อมไดโอด และเมื่อไบอัสกลับไดโอดต้องกั้นกระแสไม่ให้ไหลผ่านได้
ไดโอด SMD นั้นจากการสำรวจพบว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมาตรฐาน (Standard Type ) และ แบบ SCHOTTKY DIODE แรงดันทีตกคร่อมมีตั้งแต่ 0.1V จนถึง 2.2V ขึ้นอยู่กับเบอร์ สังเกตขั้วไฟของมัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบด้านล่างนี้จะแตกต่างกัน ใช้เพื่อทำความเข้าใจการไบอัสตรงและไบอัสกลับ
ขั้วไฟของมัลติมิเตอร์แบบเข็มเมื่อตั้งย่านวัดโอห์ม ( R )
ขั้วไฟของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลเมื่อตั้งย่านวัดไดโอด
แสดงการวัดไดโอด SMD ด้วยดิจิตอลมัลติมิเตอร์ เมื่อไบอัสตรงและไบอัสกลับ
- ไดโอดสภาพดีจะแสดงแรงดันตกคร่องไดโอด 0.1V -2.8V 1 ครั้ง และหน้าจอแสดง OL 1 ครั้ง
- ส่วนไดโอดเสียถ้าไดโอดขาด เมื่อวัดและสลับสายแล้ววัดหน้าจอจะแสดง OL ทั้ง 2 ครั้ง
- ถ้าไดโอดซ๊อต เมื่อวัดและสลับสายแล้ววัดหน้าจอจะแสดง 0.000 ทั้ง 2 ครั้ง
แสดงการวัดไดโอด SMD ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม เมื่อไบอัสตรงและไบอัสกลับ
- ถ้าเข็มมิเตอร์ขึ้น 1 ครั้ง ไม่ขึ้น 1 ครั้งแสดงว่าไดโอดสภาพดี
- กรณีไดโอดเสียแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ 1) เข็มไม่ขึ้นทั้ง 2 ครั้ง คือไดโอดขาด ( ความหมายเดียวกันกับเข็มชี้ที่ ∞ ) 2) เข็มขึ้น 0 โอห์มทั้ง 2 ครั้ง คือไดโอดซ๊อต
เมื่อไบอัสตรงจะมีแรงดันตกคร่อมไดโอด เมื่อดูในสเกลวัด R จะมีความต้านทานหลายโอห์ม เช่นในรูปนี้เข็มที่ที่ประมาณ 10 โอห์ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น