ขั้นตอนวัดทรานซิสเตอร์ 3 ขา ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
1. ให้ถอดทรานซิสเตอร์เพราะการวัดทรานซิสเตอร์ต้องวัดนอกวงจรหรือวัดขณะที่ไม่มีไฟ
2. หาตำเหน่งขาของ Transistor ว่าขาไหนคือขา B ขา C และ ขา E ทรานซิสเตอร์แต่ละเบอร์จะมีตำเหน่งขาไม่เหมือนกัน สำหรับคนที่เข้าใจและชำนาญแล้วสามารถวัดแบบสุ่มได้โดยละการหาตำเหน่งขา
3. วัดขา B กับขา C และ วัดขา B กับขา E ใช้ย่านวัด Rx10
- ชนิด NPN ใช้สายวัดสีดำจับขา B ยึดไว้ ( สายสีดำไฟ + ยึดขา B ไว้ )
สายวัดสีแดงไปแตะขา C และย้ายไปแตะขา E จะต้องได้ค่าความต้านทานต่ำทั้ง 2 ครั้งตามรูปนี้
- ชนิด PNP ใช้สายวัดสีแดงจับขา B ยึดไว้ ( สายสีแดงไฟ - ยึดขา B ไว้ )
สายวัดสีดำไปแตะขา C และย้ายไปแตะขา E จะต้องได้ค่าความต้านทานต่ำทั้ง 2 ครั้ง เช่นกัน
เบอร์ที่ใช้วัดเป็นตัวอย่างขาเรียง B C E และเป็นชนิด NPN
แต่ละเบอร์อาจมีขาเรียงไม่เหมือนกัน
วัดขา B และขา E เข็มขึ้้นแสดงค่าความต้านทานต่ำ 1 ครั้ง สลับสายวัดเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง คือดี
วัดขา B และขา C เข็มขึ้้นแสดงค่าความต้านทานต่ำ 1 ครั้ง สลับสายวัดเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง คือดี
4. วัดขา C กับขา E และ สลับสายวัดขา C กับขา E อีกครั้ง ใช้ย่านวัด Rx10K
ทรานซิสเตอร์ดีจะขึ้นค่าความต้านทานสูงๆ 1 ครั้ง และวัดไม่ขึ้น 1 ครั้ง
หรือบางเบอร์วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง
วัดขา C กับ E เข็มขึ้นค่าความต้านทานสูงๆ 1 ครั้ง และวัดไม่ขึ้น 1 ครั้ง คือดี
5. ผลการวัด
- ดีจะได้ค่าตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ตามรูป
- ขาด ( เสีย ) ใช้ Rx10 และ Rx10K วัดแล้วเข็มไม่กระดิกไม่ขึ้นเลยสักครั้ง สุ่มวัดสลับดู
- ช๊อต ( เสีย ) ใช้ Rx10 วัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกล สลับสายวัดเข็มก็ขึ้นสุดสเกล 0 Ohm อีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น