วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การวัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD Transistor

การวัดทรานซิสเตอร์จานบินและทรานซิสเตอร์  SMD  ต้องเจอในงานซ่อมเนื่องจากเป็นอุปกรณ์อีกชนิดที่นิยมใช้กับวงจร   ก่อนวัดทรานซิสเตอร์ดีเสีย มารู้จักสเปคของมันเสียก่อน  ทรานซิสเตอร์จานบิน 2 ขายาวจะเป็นขา B และขา E  ส่วนเคสจะเป็นขา C  ทำให้เราเช็คได้อย่างรวดเร็ว   Transistor  ชนิดนี้ทนกระแสได้หลายแอมป์    ส่วนทรานซิสเตอร์ SMD นั้นมีหลายขนาดจากการสำรวจพบว่าทนกระแสได้ตั้งแต่น้อยมากจนถึงหลายแอมป์   50nA  200nA  300nA  400nA   1uA  10uA  50uA  1mA  3mA 30mA 50mA 100mA   100mA  200mA 300mA 400mA 500mA 600mA  700mA  800mA  1A  1A  1.5A  1.7A    2A  2.5A   3A  5A   ในการวัดต้องระวังถ้าใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มเนื่องจากถ้าใช้กระแสมากไปกระแสทดสอบอาจทำให้ทรานซิสเตอร์พังได้  สเปคกระแสทดสอบมัลติมิเตอร์แบบเข็มคือ   Rx10 = 15mA  ,  Rx100  =1.5mA  ให้ดูที่ตัวมิเตอร์จะมีข้อความนี้ระบุไว้    ต้องเลือกย่านวัดให้เหมาะกับขนาดของทรานซิสเตอร์ ถ้าขนาดเล็กมากควรใช้   Rx100 = 1.5mA   ขณะที่มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลจะมีกระแสทดสอบน้อย  1mA  2.1V ( สเปคของมิเตอร์   UNI-T  รุ่น UT33A+)


ทรานซิสเตอร์จานบิน

                                  ทรานซิสเตอร์จานบิน เบอร์  2SD868  และ MJ2955



ทรานซิสเตอร์ SMD  เบอร์  B772  Transistor
                                 ทรานซิสเตอร์  SMD  เบอร์  B772

ตัวอย่างเบอร์ทรานซิสเตอร์จานบิน เช่น  MJ4502   MJ15004   MJ10015  MJ4502G  MJ802  MJ16018     MJ2955   MJ10009   MJ11012  MJ15016   MJ2955G      2N5303    2N3771G   2N3055    2N5301  2N5882   2N5038  2N3714  2N5882    2N5301   2N6547  2N3771  2N6340  2N4398   2N6055  BUX10  BUX10  BUV21G  BUV22G   เป็นต้น


ลักษณะขาของทรานซิสเตอร์จานบิน และ   ทรานซิสเตอร์  SMD
ทรานซิสเตอร์จานบินส่วนใหญ่แล้ว   2 ขายาวจะเป็นขา B และขา E  ส่วนเคสจะเป็นขา C  ดูรูประกอบ
ทรานซิสเตอร์  SMD  ขากลางจะเป็นขา C   ดูรูประกอบ


ทรานซิสเตอร์   ທຣານສິດເຕີ   transistor
   ทรานซิสเตอร์จานบินส่วนใหญ่แล้ว   2 ขายาวจะเป็นขา B และขา E    ส่วนเคสเป็นขา C

ทรานซิสเตอร์   ທຣານສິດເຕີ   transistor
ทรานซิสเตอร์  SMD  ขากลางจะเป็นขา C 



ขั้นตอนการวัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์  SMD 
1. ให้ถอดทรานซิสเตอร์ออกจากวงจร   การวัดทรานซิสเตอร์ต้องวัดขณะไม่มีไฟ
2. ปรับย่านวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัดไดโอด ( กรณีใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ )
3. วัดขา B กับ  ขา E  สลับสายแล้ววัดอีกครั้ง  ที่มุ่งวัดขา B กับ E เพราะเพราะสังเกตขาได้ง่ายที่สุด  ถ้าวัดแล้วดีค่อยไปวัดขาอื่นๆต่อไป  ถ้าวัดขั้นตอนนี้แล้วมันเสียไม่จำเป็นต้องวัดขั้นตอนต่อไป

-  ดี    วัดขา B กับขา E ขึ้น  0.5V-0.8V    1  ครั้ง และขึ้น OL   1 ครั้ง
-  ขาด (เสีย)     วัดแล้วขึ้้น  OL  ทั้ง 2 ครั้ง
-  ช๊อต ( เสีย )  ขึ้น  0.000V       ทั้ง 2 ครั้ง


วัด  ທຣານສິດເຕີ transistor
   ทรานซิสเตอร์ดี  วัดขา B กับขา E ขึ้น  0.5V-0.8V   1 ครั้ง และขึ้น  OL   1 ครั้ง
   
 
electronic components testing  Transistor
    
ทรานซิสเตอร์ดี  วัดขา B กับขา E ขึ้น  0.5V-0.8V   1 ครั้ง และขึ้น  OL   1 ครั้ง