วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การหาค่าความต้านทานจากแถบสีของ R 5 แถบสี และ 4 แถบสี โค้ดสีตัวต้านทานสำหรับตัวต้านทานสีฟ้าและสีเทาอ่อน

ตารางโค้ดสีตัวต้านทานและวิธีอ่านค่าตัวต้านทาน   4  แถบสี     และ   R  5 แถบสี มีวิธีการอ่านที่เกือบจะเหมือนกันเพียงแต่จำนวนของตัวตั้งไม่เท่ากัน    วิธีจําแถบสีตัวต้านทานคือต้องท่อง ลองท่องดูหลายๆรอบจะจำได้เองอัตโนมัติ   เนื่องจาก R ที่ใช้แถบสีระบุค่านี้มีใช้เป็นจำนวนมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในการเรียน การซ่อม การประกอบวงจรและการทดลองวงจรต้องเจอ R แบบนี้แน่นอน   ท่องให้ได้ตามนี้

ดำ         0
น้ำตาล   1
แดง       2
ส้ม         3
เหลือง   4
เขียว      5
น้ำเงิน    6
ม่วง        7
เทา        8
ขาว        9





                                           ตัวอย่างแถบสีที่ตัว   R



ตารางค่าแถบสีของ R  ใช้ได้ทั้ง  4  แถบสี  และ  5  แถบสี

โค้ดสีตัวต้านทาน แถบสีตัวต้านทาน  ຕົວຕ້ານທານ


การหาค่าความต้านทานจากแถบสีและการใช้ตาราง

1.  การอ่านค่าตัวต้านทาน  4  แถบสี   บางคนเรียกว่าตัวต้านทานสีน้ำตาลอ่อน ( สีเทาอ่อน)
แถบสีที่ 1  ตัวตั้ง  , แถบสีที่  2  ตัวตั้ง  ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ    , แถบสีที่ 4  ±%  คลาดเคลื่อน

ค่าความต้านทาน   4  แถบสี  ຕົວຕ້ານທານ
   การอ่านค่าตัวต้านทาน  4  แถบสี 

 ตัวอย่างการอ่านค่า R   4  แถบสี 

1.1     สีแดง  แดง    ดำ   ทอง    ให้ดูจากตารางและแทนค่าสีจะได้   แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4  เป็น  ±% คลาดเคลื่อน

    สีแดง  แดง    ดำ     ทอง  
        2     2       x1      ±5%     =   22  Ohm     ± 5%

រេស៊ីស្តង់     điện trở


1.2     สีน้ำตาล   ดำ  น้ำตาล   ทอง    ให้ดูตารางและแทนค่าสี  แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

 สีน้ำตาล   ดำ     น้ำตาล      ทอง   
       1        0       x10         ± 5%     =   100   Ohm     ±5% 

រេស៊ីស្តង់     điện trở


1.3     สีน้ำตาล   ดำ   แดง   ทอง   ให้ดูตารางและแทนค่าสี  แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่  4  เป็น  ±%  คลาดเคลื่อน

 สีน้ำตาล    ดำ    แดง        ทอง  
       1        0     x100       ± 5%       =  1000   Ohm     ± 5%    หรือ 1K Ohm  ± 5%  

រេស៊ីស្តង់      điện trở


1.4     สีน้ำเงิน   เทา   แดง   ทอง   ให้ดูตารางและแทนค่าสี  แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4  เป็น  ±%  คลาดเคลื่อน

   สีน้ำเงิน   เทา    แดง        ทอง 
    6           8       x 0.1K     ± 5%       =   6.8K  Ohm     ± 5%    

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ   រេស៊ីស្តង់  điện trở

1.5     สีน้ำตาล  ดำ   เขียว    ทอง    ให้ดูตารางและแทนค่าสี   แถบสีที่ 1 และ 2 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 3 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 4 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

    สีน้ำตาล  ดำ    เขียว          ทอง 
    1            0       x 100K     ± 5%      =     1000K Ohm หรือ   1M  Ohm  ± 5%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ  រេស៊ីស្តង់  điện trở



2.  การอ่านค่าตัวต้านทาน  5  แถบสี   บางคนเรียกว่าตัวต้านทานสีฟ้า
แถบสีที่ 1  ตัวตั้ง  ,  แถบสีที่ 2  ตัวตั้ง ,   แถบสีที่ 3   ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4   ตัวคูณ   ,  แถบสีที่ 5  ±% คลาดเคลื่อน

ความต้านทาน  5 แถบสี   ຕົວຕ້ານທານ  Resisitor
    การอ่านค่าตัวต้านทาน  5  แถบสี 


ตัวอย่างการอ่านค่า R   5  แถบสี 

2.1     สีเหลือง  ม่วง   ดำ   ดำ  น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5  เป็น  ±%  คลาดเคลื่อน

  สีเหลือง  ม่วง    ดำ     ดำ       น้ำตาล 
    4           7       0       x1       ± 1%        =     470  Ohm  ± 1%

រេស៊ីស្តង់  điện trở



2.2     สีแดง  ดำ   ดำ   เงิน  น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5  เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

   สีแดง  ดำ   ดำ    เงิน          น้ำตาล
    2       0      0      x0.01      ± 1%       =     2   Ohm  ± 1%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ  ตัวต้านทาน



2.3     สีน้ำตาล  ดำ   ดำ   ทอง   น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

   สีน้ำตาล  ดำ    ดำ    ทอง     น้ำตาล
    1            0      0     x0.1      ± 1%       =      10   Ohm  ± 1%

រេស៊ីស្តង់  điện trở



2.4     สีส้ม   ส้ม   ดำ   ดำ   น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

    สีส้ม   ส้ม   ดำ    ดำ       น้ำตาล
    3       3      0      x1      ± 1%         =     330   Ohm  ± 1%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ   ตัวต้านทาน  រេស៊ីស្តង់


2.5     สีเขียว   น้ำเงิน   ดำ   ดำ   น้ำตาล    ให้ดูตาราง  แถบสีที่ 1  2 และ 3 ตัวตั้ง ,  แถบสีที่ 4 ตัวคูณ  , แถบสีที่ 5 เป็น   ±%  คลาดเคลื่อน

    สีเขียว   น้ำเงิน   ดำ     ดำ     น้ำตาล
    5           6          0      x1      ± 1%        =     560    Ohm    ± 1%

Resistor  ຕົວຕ້ານທານ  ตัวต้านทาน  រេស៊ីស្តង់



 ฝึกอ่านค่าความต้านทาน   4 แถบสี   พร้อมตัวอย่าง  อีกจำนวนมาก ( เพิ่มเติมจากที่นี้  ที่เวปนี้ )

  ฝึกอ่านค่าตัวต้านทาน 5  แถบสี    พร้อมตัวอย่าง    อีกจำนวนมาก  ( เพิ่มเติมจากที่นี้  ที่เวปนี้ )

  หรือไปที่หน้าเวปไชต์ก่อน  แล้วหา หัวข้อ  " การอ่านค่า R "   จากเมนูลิสต์




>>>>>    อ่านต่อ   เรื่องอื่นๆ   มีดังนี้ :  

การอ่านค่า R SMD    โวลุ่ม   TRIMMER และ รหัสตัวเลขค่า  R
วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์    

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง

วัดฟิวส์

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

วิธีวัดคาปาซิเตอร์ดีเสียด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล วัดค่า C และ แนะนำเครื่องวัดคาปาซิเตอร์แบบอื่นๆเพิ่ม

แสดงวิธีการวัดคาปาซิเตอร์มีขั้ว  คาปาซิเตอร์ไม่มีขั้วและการวัดคาปาซิเตอร์พัดลมโดยใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล  UNI-T   รุ่น UT33A+    ซึ่งมีย่านวัดคาปาซิเตอร์สามารถใช้วัด C ได้สูงสุดถึง  2000UF ซึ่ง C ที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากจะมีค่าไม่สูงมากนัก   ตัวอย่างค่าคาปาซิเตอร์พัดลมซึ่ง มัลติมิเตอร์รุ่นนี้วัดได้ครอบคลุมสำหรับงานซ่อมพัดลม    1uF    400V   ,  1.5uF    400V  , 1.8uF   400V  ,  2uF   350V  ,  2uF   400V  ,     2uF   450V  ,  2.5uF   400V   , 3uF  250V  ,3uF   400V ,  3.5uF    400V  , 4uF   450V ,  4.5uF    400V  , 5uF   400V  , 6uF   400V ,  7uF   400V  ,  8uF   400V    5uF  450V   ,   6uF 450V ,  8uF    450V เป็นต้น   สังเกตว่าพัดลมตัวเล็กจะใช้  C ค่าไม่สูงเหมือนมอเตอร์  คาปาซิเตอร์พัดลมใช้กับไฟ AC และเป็นชนิดฟิล์ม ( AC  Metallized Film Capacitor ) ดังนั้นคาปาซิเตอร์พัดลมจึงไม่มีขั้วจะต่อสายวัดสลับข้างก็ได้   วิธีหาคาปาซิเตอร์พัดลมมาแทนตัวเก่าคือให้ใช้ C  ค่า uF เท่าเดิม  กรณีหาไม่ได้จริงๆให้ใช้ค่าใกล้เคียงได้เช่นของเก่าค่า 1uF ใช้ 1.5uF แทนได้   ส่วนแรงดันไฟต้องใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าก็ได้    เช่นของเดิมทนแรงดันไฟ 400V  ใช้ 450V แทนได้  สำคัญมากห้ามใช้คาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุสูงกว่าค่าเก่ามากๆ   เช่นของเก่า 1uF ไม่ควรใช้ 6uF แทน  เพราะจะทำให้กระแสไหลในวงจรมากเกินไปเกิดความร้อนเกินกว่าที่ผู้ผลิตออกแบบไว้ตอนแรก จะส่งผลเสียต่ออายุการใช้งานอุปกรณ์ตัวอื่นๆในวงจร   ด้านล่างสุดแสดงรุ่นมัลติมิเตอร์วัดตัวเก็บประจุ



วัดคาปาซิเตอร์  ຕົວເກັບປະຈຸ  Capacitor test  កុងដង់
   การวัดค่า  C



ขั้นตอนการวัดคาปาซิเตอร์ดีเสียด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
1. ปิดสวิตช์และถอดคาปาซิเตอร์ออกนอกวงจร เพราะการวัดคาปาซิเตอร์ต้องวัดขณะไม่มีไฟ ถ้าไม่ทำตามนี้มิเตอร์จะพังและผู้วัดอาจได้รับอันตรายจากการวัด
2. ให้ดิสชาร์จหรือคายประจุก่อนทำการวัดทุกครั้ง  ถ้าไม่ทำตามมิเตอร์จะพังและผู้วัดอาจได้รับอันตรายจากการวัด
3. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่การวัด C  
4. ต่อสายวัดเข้ากับ Capacitor  จะต่อสายวัดสีอะไรเข้ากับขาไหนหรือสลับสายก็ได้
5. ดูผลการวัด    ค่าที่ได้ต้องเท่ากับค่าระบุไว้ที่ตัว C หรือใกล้เคียงที่สุดและไม่เกินค่า  ±%  คลาดเคลื่อน  ยกตัวอย่างการวัดด้านล่าง


C  ค่า  100uF  ±20%   C  ดีค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง 80uF - 120uF   ( 100-20%  และ  100+20%)
C  ค่า  5uF  ±5%         C  ดีค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง 4.75uF - 5.25uF  ( 5-5%  และ  5+5%)
C  ค่า  1500pF  ±5% ( 152 = 1500pF หรือ 1.5nF)  C  ดีค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง  1.425nF - 1.575nF 
( 1.5-5%  และ  1.5+5%)



កុងដង់  kapasitor  tụ điện
                                              วัดค่า C  100uF   ได้  101.5uF    คาปาซิเตอร์นี้ดี



electronic components testing
                                       วัดค่า C   5uF   ได้  4.94uF    คาปาซิเตอร์ดี



កុងដង់  kapasitor  tụ điện
                   วัด C ไม่มีขั้วค่า 1500pF หรือ  1.5nF  ได้  1.458nF     คาปาซิเตอร์นี้ดี



คาปาซิเตอร์เสียจะวัดแล้วขึ้นแบบนี้
1.  C    ขาด   จะไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ ตามสเปคของ C ที่ระบุไว้
2.  C    ซ๊อต   ขึ้น OL และไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ
3.  C    ค่าเสือม     ได้ค่าความจุน้อยมาก หรือ  เกินสเปค   ±%   คลาดเคลื่อน


วัดค่า C  คาปาซิเตอร์ Capacitor
    C  ขาด จะไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ ตามสเปคของ C ที่ระบุไว้



วัดค่า C  คาปาซิเตอร์ Capacitor
    C  ซ๊อต  ขึ้น OL และไม่ขึ้นค่าความจุใดๆ



เครื่องวัดคาปาซิเตอร์แบบอื่นๆสำหรับงานซ่อมวงจร
เปรียบเทียบมิเตอร์วัดคาปาซิเตอร์ได้ของ  uni-t ทีมีย่านวัดคาปาซิเตอร์และเป็นเป็นมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
มิเตอร์วัดค่า c ราคาถูก เช่นรุ่น   UT33A+  และ  Multi Function Tester  TC1

UNI-T    UT33A+      วัดคาปาซิเตอร์ได้สูงสุดถึง  2 mF       หรือ       2,000   uF
UNI-T    UT136C+    วัดค่า C ได้สูงสุดถึง          40 mF      หรือ     40,000   uF
UNI-T   UT139C       วัดค่า C ได้สูงสุดถึง          99.99 mF  หรือ    99,990   uF
UNI-T   UT89XD      วัดค่า  C ได้สูงสุดถึง         100 mF     หรือ    100,000  uF
UNI-T    UT61E       วัดค่า  C ได้สูงสุดถึง          220 mF     หรือ    220,000  uF


วัด  C ค่า  10uF  ด้วยเครื่องวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ESR R L  C Meter
   วัด  C ค่า  10uF  ด้วยเครื่องวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ESR   R  L  C   Meter  





อ่านต่อ   หัวข้ออื่นๆ   >>>>>


วัดถ่าน หรือ แบตเตอรี่


วัดกระแสไฟฟ้า


วัดแรงดันไฟฟ้า  Vac


วัดแรงดันไฟฟ้า VDC


วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม


วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล


วัดไดโอด  SMD  


วัดไดโอดบริดจ์ 


วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง


วัดฟิวส์


วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล


วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม


วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD


วัดทรานซิสเตอร์รั่ว


วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์


วัด  C   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม


การอ่านค่า R SMD  โวลุ่ม TRIMMER และรหัสตัวเลข R

อ่านค่า R  4 แถบสี และ 5 แถบสี


วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)


การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์    

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

วิธีวัดตัวต้านทานหรือวัดค่า R ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)

ลักษณะอาการเสียของตัวต้านทาน ( Resistor ) คือไหม้และมีร่องรอยการไหม้ที่ชัดเจน  วัสดุข้างในก็จะขาด เมื่อใช้มัลติมิเตอร์วัด  R ที่ไหม้นี้เข็มก็จะไม่ขึ้น   ตัวต้านทานใช้ต้านการไหลของกระแสขณะที่มันทำงานจึงมีความร้อนเกิดขึ้นตลอดเวลาโอกาสที่มันจะเสียจีงมีมากไปด้วยเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีตัวต้านทานอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าอาร์ฟิวส์     (R Fuse )   R ชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานและเป็นฟิวส์ด้วยในตัว   เมื่อมีกระแสไหลมากเกิดความร้อนสะสมที่ตัวมันถึงระดับที่ออกแบบไว้ให้ขาด อาร์ฟิวส์ก็จะขาดเพื่อทำหน้าที่ป้องกันวงจร     อีกลักษณะอาการเสียของตัวต้านทานคือยืดค่า ตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าไปทำให้แรงดันและกระแสในวงจรเปลี่ยนค่าตามไปด้วยตามกฏของโอห์ม   V = IR   ค่าทางไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปนี้ทำให้จุดทำงานของวงจรเปลี่ยนไปด้วยและอาจส่งผลให้วงจรทำงานไม่เหมือนเดิม  วงจรทำงานผิดปกติ   วิธีแก้คือต้องหา R ตัวใหม่มาเปลี่ยน   อาการเสียของตัวต้านทาน    R ขาด และยืดค่าสามารถเช็คได้ด้วยย่านวัดโอห์มของมัลติมิเตอร์ 



วัดตัวต้านทาน  ຕົວຕ້ານທານ  điện trở   រេស៊ីស្តង់



ย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ 
มี  4  ย่านวัด    วิธีเลือกย่านวัดคือควรเลือกย่านวัดที่ใกล้เคียงกับค่าที่จะทำการวัดให้มากที่สุด   เช่นจะวัด R ค่า 100 โอห์มควรใช้ย่านวัด Rx10  เพราะที่ย่านวัดนี้จะทำให้เข็มชี้ที่บริเวณใกล้ๆกลางสเกล การเลือกย่านวัดที่ไม่เหมาะสมจะทำให้อ่านค่ายากและการวัดมีความคลาดเคลื่อนสูงเนื่องจากมัลติมิเตอร์แบบเข็มสเกลจะไม่เป็นเชิงเส้นให้สังเกตตรงขีดสเกล   Ω  จะเห็นว่าตั้งแต่เลข 0-50  ขีดสเกลจะละเอียดและอ่านค่าง่ายส่วนสเกลตั้งแต่ขีด  50 ขึ้นไป - 2K   สเกลจะหยาบ

Rx1     วัดค่าได้  0 - 2K Ohm   แต่ควรใช้วัดค่า R  ระดับหลักหน่วย-หลักสิบ    เช่น  0 -50  Ohm
Rx10   วัดค่าได้  0 - 20K Ohm แต่ควรใช้วัดค่า R  ระดับหลักสิบ-หลักร้อย       เช่น   50 -500  Ohm
Rx100 วัดค่าได้  0 - 200K Ohm แต่ควรใช้วัดค่า R  ระดับหลักร้อยหลัก K Ohm      เช่น   500 -5K  Ohm
Rx1K   วัดค่าได้   0 - 2M Ohm  แต่ควรใช้วัดค่า R     ระดับหลัก K Ohm        เช่น   5K -50K  Ohm
Rx10K  วัดค่าได้   0 - 20M Ohm  แต่ควรใช้วัดค่า R  ในช่วงความต้านทาน   เช่น   50K -20 M  Ohm



มัลติมิเตอร์  Multimeter
   ย่านวัดตัวต้านทานหรือโอห์มมิเตอร์มี     x1     x10   x100   x1K   x100K



   อ่านค่าความต้านทานจากสเกลโอห์มใช้สัญลักษณ์  Ω ( สเกลด้านบนสุดที่มีขีด 0 - 2K )




ขั้นตอนการวัดและวิธีอ่านค่าตัวต้านทาน ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
1. ปิดสวิตช์ ถอดปลั๊กเพื่อเอาไฟออกจากวงจรหรือ R ที่จะวัดก่อน เพราะการวัด R ต้องวัดนอกวงจรและวัดขณะที่ไม่มีไฟเท่านั้น  การวัด R จะใช้ไฟจากมัลติมิเตอร์ไหลผ่าน R  จึงห้ามมีไฟจากเหล่งอื่นๆอีก  ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้มิเตอร์จะพังและผู้ทำการวัดได้รับอันตราย
2. เสียบสายวัดสีแดงเข้ารูเสียบ +  และสายวัดสีดำเข้ารูเสียบ    -COM 
3  แตะหรือซ๊อตสายวัดแดงกับดำเข้าด้วยกัน จากนั้น ปรับปุ่ม 0 Ω ADJ เพื่อให้เข็มเริ่มชี้ที่ 0 ของสเกล
4. ปรับเลือกย่านวัดที่เหมาะสม   ตามที่อธิบายไว้แล้วข้างบน
5. ต่อสายวัดเข้ากับ R  จะต่อข้างไหนก็ได้เพราะ R ไม่มีขั้ว กรณีใช้มือช่วยจับยึดให้จับได้แค่ 1 ข้างเท่านั้น
6. อ่านค่าผลการวัดโดย
   ค่าของ R  =   ย่านวัดที่ตั้ง   x   จำนวนขีดที่อ่านได้
   R  ที่ดีต้องอ่านค่าความต้านทานได้ใกล้เคียงกับค่า R ของมันตามรหัสสีหรือตัวเลขที่ระบุค่าไว้
   R  เสียวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย
   R  ยืดค่า อ่านค่าได้เกิน % คาดเคลื่อน  สังเกตง่ายๆคืออ่านค่าได้ต่างจากค่าตามสเปคมาก


วัด  R  ค่า  15 Ohm  อ่านค่าจากสเกลได้   15.5 ขีด  และใช้ย่านวัด x1   ดังนั้น
ค่าของ R  =    ย่านวัดที่ตั้ง   x   จำนวนขีดที่อ่านได้
                 =    1   x  15.5     =    15.5  Ohm  

điện trở   រេស៊ីស្តង់
                                       วัด R  ค่า  15 Ohm  ใช้ย่านวัด  x1



วัด R  ค่า  100 Ohm   อ่านค่าจากสเกลได้   10   ขีด  เมื่อใช้ย่านวัด x10   ดังนั้น
ค่าของ R    =   ย่านวัดที่ตั้ง   x    จำนวนขีดที่อ่านได้
                  =   10   x  10       =     100   Ohm  

How to test   electronic  components
                                  วัด R  ค่า  100  Ohm  ใช้ย่านวัด  x10



วัด R  ค่า  390   Ohm    อ่านค่าได้   40   ขีด  เมื่อใช้ย่านวัด  x10   ดังนั้น
ค่าของ R   =   ย่านวัดที่ตั้ง    x    จำนวนขีดที่อ่านได้
                  =   10   x  40       =    400   Ohm  

điện trở   រេស៊ីស្តង់
                                          วัด R  ค่า  390  Ohm  ใช้ย่านวัด  x10



วัด R  ค่า  22K  Ohm  อ่านค่าได้   22   ขีด ใช้ย่านวัด x1K   ดังนั้น
ค่าของ R   =   ย่านวัดที่ตั้ง    x   จำนวนขีดที่อ่านได้
                  =   1K   x  22     =    22K   Ohm  

điện trở   រេស៊ីស្តង់
                                             วัด R  ค่า  22K  Ohm  ใช้ย่านวัด  x1K   ได้ตามรูป




อ่านเพิ่ม  >>>>


วัดถ่าน หรือ แบตเตอรี่

วัดกระแสไฟฟ้า

วัดแรงดันไฟฟ้า  Vac

วัดแรงดันไฟฟ้า  VDC


วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง

วัดฟิวส์

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์


วัด  C   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดคาปาซิเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

การอ่านค่า R SMD  โวลุ่ม TRIMMER และรหัสตัวเลข R

อ่านค่า R  4 แถบสี และ 5 แถบสี


วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์