วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์และฟรี เรื่อง การวัดกระแสด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล uA mA A

เรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์และเรียนรู้ด้วยตนเอง  หัวข้อต่างๆจะอยู่ด้านล่างสุด  ตอนนี้เป็นเรื่อง :    การใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอลวัดกระแสไฟตรง   มีรายละเอียดและขั้นตอน 1-2-3  ให้อ่านข้อมูลต่อไปนี้ให้จบซึ่งได้เรียบเรียงข้อมูลให้เป็นขั้นตอนสำหรับศึกษา   ประเด็นสำคัญข้อแรกที่ต้องรู้ก่อนวัดคือความสามารถและลิมิตของมัลติมิเตอร์ในการวัดกระแส  ยกตัวอย่างมัลติมิเตอร์  UNI-T   รุ่น  UT33A+    มี 3 ย่านวัดกระแส  ต้องเลือกย่านวัดให้เหมาะกับค่าที่จะวัดคือ   ย่านวัด  uA  วัดได้  0 -  2000uA    ,  ย่านวัด  mA  วัดได้ 0-200mA  , ย่านวัด 10A  ใช้วัดกระแสระดับ A   มิเตอร์ตัวนี้จะวัดกระแสได้สูงสุด 10A  ดังนั้นจีงห้ามใช้วัดกระแสที่สูงกว่า 10A    ประเด็นสำคัญข้อที่ 2 คือการเสียบสายวัด  การวัดกระแส DC  ระดับ uA และ mA  สายวัดสีแดงให้เสียบที่ช่อง VΩmAuA   ส่วนการวัดกระแสตรงระดับ A ให้เสียบสายสีแดงที่ช่อง 10A    ประเด็นสำคัญข้อสุดท้ายไฟฟ้ากระแสตรงมีขั้ว + -   การต่อสายวัดต้องคำนึงถึงขั้ว + -  ด้วย      การวัดกระแสไฟฟ้านั้นมีอันตราย   ถ้าเป็นมือใหม่ควรศึกษาไว้ก่อนแต่ไม่ควรด่วนวัดกระแสไฟฟ้าเลยและไม่ควรวัดกระแสไฟฟ้าตามลำพัง  ควรทำการวัดอยู่ภายใต้การดูแลของผู้มีประสบการณ์ในการใช้งานมัลติเตอร์  ผู้วัดต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นและการใช้งานมัลติเตอร์ระดับหนึ่งแล้ว



   การเสียบสายวัดและการเลือกย่านวัดกระแส DC  เช็คให้แน่ใจว่าได้เสียบและปรับถูกต้องแล้ว


ทำความเข้าใจการต่อสายวัดก่อนวัดกระแสไฟฟ้า DC 

การวัดกระแสต้องต่อแบบอนุกรมแล้วการต่อแบบอนุกรมคือต่ออย่างไร  ?   การต่อแบบอนุกรมคือต่อให้เป็นเส้นเดียวกัน ยกตัวอย่างต้องการวัดกระแสไฟ DC ที่จุดผ่าน    A   ต้องตัดไฟออกจากวงจรก่อน( ปิดสวิตช์) จากนั้นคำนวณหรือหาข้อมูลปริมาณกระแสที่ผ่านจุด A  จากนั้นต่อสายวัดแบบอนุกรมตามรูปโดยการต่อต้องคำนึงถึงขั้ว + -   จะสังเกตว่ามิเตอร์จะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่ทำการวัดและเป็นเส้นเดียวกัน





แสดงวงจรง่าย ๆ  เพื่อใช้ทำความเข้าใจการวัดกระแสไฟ DC


ขั้นตอนการวัดกระแสไฟ DC ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

1.  คำนวณหรือหาข้อมูลปริมาณกระแสที่จะวัด ห้ามใช้มิเตอร์วัดกระแสที่เกิดลิมิตสเปคของมิเตอร์  ยกตัวอย่างวงจรด้านล่างคำนวณตามกฏของโอห์ม  V =  IR    ,  กระแส  I  =  9/150 =  60mA  จากข้อมูลนี้ทำให้รู้ว่าย่านวัดที่เหมาะสมคือ   mA

2. ตัดไฟออกจากวงจร ( เปิดสวิตช์ )  และตัดวงจรจุดที่จะวัดกระแส  จากนั้นจึงทำการต่อสายวัดแบบอนุกรม

3. เสียบสายวัดให้ถูกต้อง จากข้อมูลในข้อ 1 กระแสที่จะวัดมีค่า 60mA  จึงเสียบสายวัดสีแดงที่ช่อง  VΩmAuA  และสายวัดสีดำเสียบที่ช่อง  COM

4. ปรับย่านวัดไปที่ mA เนื่องจากกระแสที่จะวัดอยู่ในช่วง mA


   คำนวณหรือหาข้อมูลปริมาณกระแสที่จะวัดโดยใช้กฏของโอห์ม  V =  IR



    

Testing electronic components with multimeter
   ต่อสายวัดให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงเปิดสวิตช์เพื่อจ่ายไฟเข้าวงจร   ไฟ DC ต้องต่อสายให้ถูกขั้ว


การวัดกระแสในงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้านิยมใช้แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter) เพราะใช้งานง่ายและปลอดภัยกว่าไม่ต้องตัดวงจรและไม่ต้องตัดไฟจุดที่ต้องการจะวัดกระแส  เพียงใช้แคล้มป์มิเตอร์คล้องสายเส้นที่ต้องการวัดก็จะทราบปริมาณกระแสได้ทันที  ที่สำคัญ แคล้มป์มิเตอร์สามารถวัดกระแสได้สูง เช่น  UNI-T   รุ่น  UT210E  วัดได้สูงสุด 100A AC และ 100A DC    วัดได้ทั้งกระแสไฟ DC และ  AC  แคล้มป์มิเตอร์นี้ยังใช้งาานเป็นมัลติมิเตอร์ได้ด้วยเพราะมีย่านวัดอื่นๆเหมือนมัลติมิเตอร์ เช่นวัด   V   I    R  Diode   Hz   เป็นต้น

 

แคล้มป์มิเตอร์  Clamp Meter  UNI-T    UT210E
    แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter)   UNI-T   รุ่น  UT210E   ใช้วัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างง่ายๆ 


แคล้มป์มิเตอร์  Clamp Meter  UNI-T    UT210E
   วัดกระแสไฟได้ง่ายๆและปลอดภัยกว่าด้วยแคล้มป์มิเตอร์  เพียงคล้องสายเส้นที่ต้องการวัดกระแส โดยไม่ต้องทำการตัดวงจร


เรียนอิเล็กทรอนิกส์ฟรี  .... เรียนรู้ด้วยตนเอง
หัวข้อต่างๆ  มีดังนี้  : 


การอ่านค่า R SMD    โวลุ่ม   TRIMMER และ รหัสตัวเลขค่า  R
วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์    

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง

วัดฟิวส์

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์