มัลติมิเตอร์แบบเข็มและแบบดิจิตอลเป็นเครื่องมือวัดละเอียดค่าทางไฟฟ้าของช่างและผู้ที่่ทำงานเกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้า จากการศึกษาคู่มือมัลติมิเตอร์มากกว่า 20 รุ่น พบว่ามีหลักการและข้อควรระวังในการใช้ที่เหมือนๆ กัน อาจจะเขียนแตกต่างกันในรายละเอียดบ้างสำหรับแต่ละรุ่น หน้าแรกๆหรือบทแรกๆของคู่มือมัลติมิเตอร์จะอธิบายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้า และข้อควรระวังในการใช้มัลติมิเตอร์อย่างปลอดภัย มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ทำการวัดทำงานอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักความปลอดภัยรวมทั้งตัวมัลติมิเตอร์ไม่เสียหายจากการวัดนั้นๆ สามารถสรุปข้อควรระวังในการใช้มัลติมิเตอร์ได้ดังนี้ ให้ลองเช็คว่ามีข้อไหนที่ทราบแล้วหรือมีข้อไหนที่เป็นข้อมูลใหม่ ?
1. ขณะทำการวัดให้จับตรงฉนวนกั้นมือ อย่าจับปลายสายวัดตรงบริเวณที่เป็นตัวนำ ดูรูปด้านล่าง
2. เช็คให้แน่ใจว่าได้ทำการเสียบสายวัดถูกต้องคือสายวัดสีแดงเสียบรู P+ และสายวัดสีดำเสียบรู -COM ดูรูปด้านล่างสุด และการเสียบสายวัดต้องตรงกับโหมดฟังก์ชั่นที่วัดอยู่
3. เช็คให้แน่ใจว่าได้ปรับย่านวัดตรงกับค่าที่จะวัด เช่น วัดแรงดันไฟ VDC ต้องใช้ย่านวัด VDC เท่านั้น วัดความต้านทานต้องใช้ย่านวัด R เท่านั้น เป็นต้น การปรับย่านวัดผิดทำให้มิเตอร์พังและอาจเป็นอันตรายต่อผู้วัด ถึงแม้มัลติมิเตอร์ดิจิตอลบางรุ่นจะมีฟังก์ชั่นป้องกันแต่ไม่ควรตั้งย่านวัดผิดเพราะอาจทำให้มิเตอร์วัดค่าเพี้ยนได้
4. ห้ามใช้มัลติมิเตอร์เกินลิมิตสเปคและเกินลิมิตของย่านวัด เช่น จะวัดไฟ 12VDC ควรใช้ย่านวัด 50VDC ที่ย่านวัด 50VDC นี้จะวัดค่าได้สูงสุดแค่ 50VDC กรณีต้องการวัดไฟ 60VDC ต้องปรับไปที่ย่านวัด 250VDC หลักการคือให้ใช้ย่านวัดที่สูงกว่าค่าที่จะวัดแต่ไม่ควรใช้ย่านวัดที่สูงเกินไปเพราะจะทำให้การวัดคลาดเคลื่อนสูง ยกตัวอย่างเช่น จะวัดไฟ 60VD ควรใช้ 250VDC เพราะใกล้กว่าและครอบคลุมค่่าที่จะวัด ไม่ควรใช้ย่านวัด 1000VDC เพราะจะทำให้ค่าที่วัดคลาดเคลื่อนสูง กรณีงานที่ไม่ได้เน้นความถูกต้องคือวัดเพื่อให้รู้ค่าแรงดันไฟโดยประมาณเท่านั้นก็สามารถใช้ย่านวัด 1000VDC วัดไฟ 60VDC ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของงาน
เสียบสายวัดให้ถูกกับฟังก์ชั่นที่จะวัด เช็คให้แน่ใจว่าได้เสียบสายวัดถูกต้องแล้วก่อนวัด
5. กรณีไม่ทราบค่าที่จะวัด ให้ตั้งย่านวัดสูงๆไว้ก่อน แล้วค่อยปรับย่านวัดลงมาให้ใกล้ค่าที่จะวัด มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลสามารถตั้งเป็น Auto Range ได้จึงสะดวกในการวัด และ ถ้าค่าเกินย่านวัดมันจะมีวงจรป้องกันและแจ้งเตือนว่าค่าเกินย่านวัดอยู่ สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะไม่มีวงจรป้องกันต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ให้หาข้อมูลก่อนวัดว่าตรงจุดที่จะวัดมีปริมาณไฟเท่าไหร อาจดูจากป้าย คำนวณโดยใช้กฏของโอห์ม V = IR หรือ ดูจากหลักการทำงานของวงจร
6. การวัดตัวต้านทาน การวัดความต่อเนื่อง วัดไดโอด และ วัดทรานซิสเตอร์ ต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟหรือให้วัดนอกวงจรเท่านั้น ถ้าวัดขณะมีไฟอยู่มิเตอร์จะพัง
7. การวัดคาปาซิเตอร์ต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟ หรือให้วัดนอกวงจร ก่อนทำการวัดให้คายประจุก่อนทุกครั้ง
8. ก่อนเปลี่ยนโหมดฟังก์ชั่นการวัดให้ถอดสายวัดออกจากจุดวัดก่อนทุกครั้งแล้วค่อยปรับโหมด
9. การวัดแรงดันต้องวัดแบบขนานและการวัดกระแสต้องวัดแบบอนุกรม ก่อนวัดกระแสให้ปิดสวิตช์ ถอดปลั๊กเพื่อตัดไฟออกจากวงจรและทำการต่อสายวัดแบบอนุกรมให้เรียบร้อยก่อน เมื่อต่อสายวัดเสร็จแล้วจึงเปิดสวิตช์เพื่อวัดกระแส
10. การวัดแรงดันที่ปลอดภัยคือให้แตะสายวัดสีดำก่อน จากนั้นจึงแตะสายวัดสีแดง(สายมีไฟ)ตามมา และการถอดสายวัดให้เอาสายวัดสีแดง(สายมีไฟ)ออกก่อนจากนั้นจึงถอดสายวัดสีดำตามมา
11. ห้ามใช้มัลติมิเตอร์ในสภาพแวดล้อมต่อไปนี้ บริเวณที่มีความชื้น มีน้ำ มีฝุ่น มีสารระเหย มีแก๊สและวัตถุไฟไว เนื่องจากอาจเกิดการระเบิดได้ สภาพแวดล้อมที่มีแก๊สและสารไว้ไฟต้องใช้เครื่องมีอวัดพิเศษเฉพาะทางเท่านั้นจะใช้มัลติมิเตอร์แบบทั่วไปวัดไม่ได้เด็ดขาด
12. ห้ามใช้มัลติเตอร์ที่ชำรุด สายวัดที่ฉนวนชำระ ฝาครอบเปิดอยู่ และกรณีมัลติมิเตอร์แบตเตอรี่อ่อนต้องรีบเปลี่ยนใหม่แล้วค่อยทำการวัดเพราะแบตเตอรี่อ่อนจะทำให้ค่าที่วัดมีความคลาดเคลื่อนสูง
13. ห้ามวัดถ้ามือเปียก เสื้อผ้าเปียกหรือมีความชื้น
14. ผู้วัดต้องสวมรองเท้าที่เป็นฉนวนขณะทำการวัดและงานไฟฟ้าที่มีอันตรายห้ามทำงานคนเดียว ต้องมีเพื่อนร่วมงานช่วยเผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
15. การวัดแรงดันไฟ 30VAC rms และ 60VDC ขึ้นไป ต้องใช้ความระมัดระวังให้มากเนื่องจากไฟปริมาณนี้เป็นอันตราย ค่าแรงดันไฟอันตรายที่ว่านี้คู่มือมัลติเตอร์หลายรุ่นแนะนำไว้ มิเตอร์บางรุ่นอาจใช้ค่าอื่นๆ เช่น 25VAC rms เป็นต้น
16. เก็บคู่มือมัลติเตอร์ไว้เผื่อมีความสงสัยในการใช้หรือลิมิตสเปคของมัลติมิเตอร์ให้อ้างอิงจากคู่มือของมัลติมิเตอร์รุ่นนั้นๆ
17. การใช้งานมัลติมิเตอร์เหมาะสำหรับที่ผู้เรียนหลักสูตรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นมาแล้วซึ่งจะมีการเรียนการสอนเรื่องการใช้งานมัลติมิเตอร์ ไม่เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ช่างหรือไม่ได้ฝึกมา กรณีมีข้อสงสัยนอกจากอ่านคู่มือมิเตอร์แล้วให้ปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญ การใช้งานมัลติมิเตอร์โดยไม่มีความรู้หรือไม่แน่ใจเป็นอันตรายต่อผู้วัดและตัวมัลติมิเตอร์ด้วย
18. สรุปการใช้งานมัลติมิเตอร์คือคนพร้อม มิเตอร์พร้อม สภาพแวดเหมาะ คนพร้อมคือมือเสื้อผ้าไม่เปียกชื้น ใส่รองเท้าฉนวนและมีความรู้ความเข้าใจในการวัดค่าทางไฟฟ้าและผ่านการฝึกใช้งานมิเตอร์มาแล้ว มิเตอร์พร้อมคือมิเตอร์ไม่ชำรุดสายวัดฉนวนไม่ชำรุดและแบตเตอรี่ไม่อ่อน สภาพแวดเหมาะคือไม่ทำการวัดบริเวณที่เปียกชื้น มีสารไวไฟ แก๊สระหายเด็ดขาด การซ่อมงานเฉพาะด้านและเฉพาะทางมากๆต้องให้ผู้ผลิตเครื่องนั้นและเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกมาเฉพาะทางแล้วเท่านั้น ปกติแล้วการซ่อมจะหมายถึงซ่อมอุปกรณ์ทั่วไปที่คุ้นเคยหรือรู้จักกันแล้ว กรณีเป็นอุปกรณใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคยให้หาข้อมูลก่อนทำการซ่อม
เช็คให้แน่ใจว่าได้ปรับย่านวัดตรงกับค่าที่จะวัด ห้ามใช้เกินลิมิตของย่านวัดและเกินลิมิตสเปคมิเตอร์
19. เมื่อไม่ได้ใช้งานมัลติมิเตอร์ให้ปรับไปที่ตำเหน่ง OFF บางรุ่นไม่มีตำเหน่ง OFF ให้ปรับไปที่ตำเหน่ง 1000VAC ก็ได้
20. เมื่อไม่ได้ใช้งานมัลติมิเตอร์นานๆหลายเดือน ควรถอดแบตเตอรี่ออก ป้องกันแบตเตอรี่บวมจะมีน้ำยาไหล่ถูกวงจรและอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ควรเก็บมิเตอร์ไว้ที่ปลอดภัยคือบริเวณที่ไม่ร้อนไม่ชื้น
สรุปวิธีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มและวิธีใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
1) มิเตอร์พร้อม เช็คมิเตอร์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน แบตไม่อ่อน ฝาปิดแน่น ฉนวนของสายวัดไม่ชำรุด
2) คนพร้อม มือไม่เปียกชื้น เสื้อผ้าไม่เปียก และใส่รองเท้าที่เป็นฉนวนขณะทำการวัด
3) สภาพแวดล้อมพร้อม ไม่ทำการวัดบริเวณที่เปียกหรือชื้น ห้ามวัดบริเวณที่มีแก๊สไวไฟ สารไวไฟ
4) ห้ามใช้มัลติมิเตอร์เกินลิมิตสเปคของมัลติมิเตอร์ ค่าที่จะวัดต้องเหมาะกับย่านวัด( Range) ที่ตั้งไว้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น